วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

หลวงพ่อปาน

สวัสดีครับ อิอิยังไม่มีคนมาอ่านเยย ผมขอเขียนต่อไป
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นพระที่ผมเคารพมาก ผมอ่านหนังสือธรรมที่หลวงพ่อฤษีลิงดำเขียน แล้วก็ประวัติหลวงพ่อปาน ทำให้นี่แหละที่ผมหันมาสนใจธรรมมะ เริ่มอ่านมาเมื่อ10 ปีก่อน ตอนนั้นเจอมรสุมชีวิตอย่างหนัก คิดอยากตายก็หลายที แต่พอมาอ่านหนังสือธรรมมะของหลวงพ่อฤษีลิงดำก็ช่วยให้ผมเลิกคิดเรื่องนี้ เพราะมันจะทำให้ผมบาปมาก และต้องใช้กรรมอีกหลายชาติ ผมเริ่มไปวัดบางนมโคเมื่อ 6ปีก่อน ไปแล้วติดใจ กลับมาเหมือนหลวงพ่อปานท่านคอยคุ้มครองผม (ความรู้สึกส่วนตัวยากจะบรรยาย) แล้วดวงผมก็เริ่มดีขึ้น ผมเป็นผู้รับเหมาครับ งานลุ่มๆดอนๆ ชีวิตเอาแน่นอนไม่ได้ ช่วงนั้นเศรษฐกิจไม่ดี แต่รู้สึกผมจะทำอะไรเป็นเงินเป็นทองไปหมด ส่วนนึงผมว่ามาจากหลวงพ่อปาน และคาถาพระปัจเจกโพธิ์ คาถานี้หลวงพ่อปานได้มาจากอาจารย์ผึ้งครับ อาจารย์ผึ้งนี่เป็นฆาราวาส
ตามประวัติแล้ว ตอนแรกอาจารย์ผึ้งท่านจนมาก จนแทบไม่มีเงินกินข้าว วันนึง มีพระธุดงค์ มาปักกลดไกล้บ้านท่าน ท่านเลยได้อุปัทฐาก พระธุดงท่านก็เลยสอนกรรมฐาน และพระคาถาปัจเจกโพธิ์ คาถานี้ดีมากๆ ท่านว่า ใส่บาตรทุกวัน แล้วสวดคาถา 9จบ หรือกี่จบก็ได้ อันนี้เป็นเบี้ยต่อใส้ จะทำให้พอมีพอกินไม่มีอดหมดก็จะมา ถ้าทำเป็นกรรมฐาน ทำไปเรื่อยๆๆจนถึง ฌาณ 4 จะทำให้รวย อาจารย์ผึ้งท่านก็เลยเริ่มทำ(อย่างตั้งใจมาก)ตอนแรก ของเพิ่มเอง ข้างในยุ้งงอกเพิ่มเอง ทำไปเรื่อยๆเงินมาหา จนรวยสุดๆ คาถามีดังนี้ครับ

ว่านะโม3จบ พุทธมะอะอุนะโมพุทธายะ (ว่า1จบ)
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทธีโย พุททัสสะ มานีมามะ พุททัสสะ สะวาโหม (9จบ หรือท่องทุกลมหายใจเข้าออก)
ปล.ใครลองไปทำแล้วดีมาโพสบอกเผยแพร่หน่อยนะครับ

หลวงพ่อปาน
พระครูวิหารกิจจานุการ โสนันโทเถระ
วัดบางนมโค จ.อยุธยา
หลวงพ่อปาน ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโคเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ท่านเป็นบุตรชายคนเล็กของคุณพ่ออาจ และคุณแม่อิ่ม สุทธาวงศ์ อาชีพของครอบครัว คือทำนา
สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า ปาน เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวที่นิ้วก้อยมือซ้าย เป็นปานแดงตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้ว
วัยเด็ก
หลวงพ่อปาน ท่านมีอุปนิสัยในทางกุศลมาตั้งแต่เล็ก เมื่อท่านอยู่ในวัยเด็ก มีอยู่วันหนึ่งท่านอยู่ใต้ถุนเรือน ขณะนั้นย่าของท่านกำลังจะสิ้นลม เสียงโยมบิดามารดา และญาติพี่น้องกำลังบอกทางสวรรค์แก่คนเจ็บใกล้ตาย ให้นึกถึงพระอรหัง ท่านได้ยินก็รู้สึกแปลกใจ จึงขึ้นเรือนไปสอบถามผู้ใหญ่ ก็กลับโดนดุให้ไปเล่นเสียที่อื่น ตกเย็นถึงเวลาอาหารท่านได้รับแกงเผ็ดที่ถูกใจจากโยมมารดา จึงนึกถึงคำว่าพระอรหัง ตามที่ท่านได้ยินมา ท่านจึงร้องดังๆว่าพระอรหังสองสามคำโดนโยมแม่ดุว่า พระอรหังใช้กับคนใกล้ตายอย่ามาท่องให้ได้ยินอีก
วัยหนุ่ม
สมัยก่อนนี้ ลูกผู้ชายเมื่อถึงอายุที่จะบวช ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาค ท่านก็มีข้อสงสัยในข้อหนึ่งว่า อันสตรีเพศไฉนจึงดึงดูดใจบุรุษเพศให้หลงใหลใฝ่ฝันยิ่งนัก ซึ่งท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงตั้งใจว่าจะพิสูจน์ด้วยของจริงว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริง บวชครบพรรษาก็จะสึกออกมา หาไม่แล้วก็จะไม่สึกเลย คือบวชตลอดชีวิต และระหว่างนั้นที่บ้านของท่านมีหญิงรับใช้คนหนึ่งชื่อเขียว แต่อายุมากกว่าท่าน ท่านก็คอยโอกาสที่จะพิสูจน์ เมื่อเห็นว่าปลอดคนแล้ว และพี่เขียวก็อยู่ในครัว จึงตรงเข้าไปยกมือไหว้เชิงขอโทษ พร้อมทั้งกล่าวว่า “ขออภัยให้ฉันเถอะพี่เขียวฉันก็ใกล้จะบวชแล้ว จะขอลองจับเนื้อพี่เขียวดูสักหน่อยว่าเนื้อผู้หญิงนั้นเป็นอย่างไร ผู้ชายจึงหลงใหลนัก” แรกทีเดียวพี่เขียวก็ตกใจ ที่อยู่ๆท่านก็มาขอจับเนื้อต้องตัวท่านก็อธิบายตามที่ท่านมีความตั้งใจ เมื่อพี่เขียวเห็นว่าท่านมีความบริสุทธิ์ใจก็เลยอนุญาต ท่านก้เลือก จับเอากล้ามเนื้อที่หน้าอก พอจับดูแล้วมาจับดูกล้ามเนื้อที่น่องของท่านเองเปรียบเทียบดู แล้วกล่าวว่า “มันก็เหมือนกับกล้ามเนื้อที่น่องของฉันนี่ทำไมผู้ชายจึงหลงใหลนัก” จาการพิสูจน์ครั้งนี้ทำให้ท่านหายสงสัยใจ และตั้งใจแน่วแน่บวชคราวนี้จะไม่ขอสึกเลย ก็สมจริงตามที่ท่านตั้งใจไว้ทุกประการ
ใต้ร่มกาสาวพัสตร์
หลังจากที่โยมบิดามารดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้ายให้ฝึกหัดขานนาคจนคล่องแคล่วแล้ว ท่านก็เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2438 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์ จ้อย วัดบ้านแพน พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ ท่านได้ฉายาว่า “โสนนโท”
เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือหลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่า ในสมัยนั้นหลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคมและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดีต่อไปภายภาคหน้า จะได้เป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนคนให้ได้ดี หลวงพ่อสุ่นจึงได้ให้สติหลวงพ่อปานในเบื้องต้นว่า
การบวช เมื่อบวชแล้วอย่าให้เป็นทาสกิเลสตัญหา อย่าเกาะโลกธรรมแปด คือ
1. อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจตั้งหน้าสะสมทรัพย์
2. เป็นอย่างต้นแล้วเมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
3. อยากมียศถาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
4. เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
5. ได้รับคำสรรเสริญแล้วก็ยินดี
6. ได้รับคำนินทาแล้วเดือดร้อน
7. มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
8. เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ
จากเพศฆราวาสมาวสู่เพศบรรพชิตแล้ว อย่าหวังรวยเป็นพระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาจงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา
อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าเมายศถาบรรดาศักดิ์ มันเป็เครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส ต้องตัดออกให้หมด ต้องระรึกเสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน
และก่อนที่หลวงพ่อปานจะได้รับการถ่ายทอดวิชา จากหลวงพ่อสุ่นหลวงพ่อสุ่นก็ทดลองความอดทนของหลวงพ่อปานโดยให้ท่องสวดมนต์ ตลอดจนคาถาทั้ง 4 คือ นะ มะ พะ ทะ เดินหน้า ถอยหลัง พร้อมทั้งส่งแม่กุญแจ ซึ่งกดล็อคแล้วให้ 1 ดอก บอกว่าเป็นคาถาเสดาะกุญแจ ให้ว่าคาถาจนกว่ากุญแจนั้นจะหลุดจึงจะใช้ได้ ซึ่งหลักของการเรียนคาถาอาคม คือการทำสมาธิจิตให้จิตใจเป็นหนึ่ง ถ้าจิตมีสมาธิแล้ว วิชาสิ่งใดก็เรียนได้ หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทนเป็นเลิศ ท่านก็นั่งลูบนั่งเป่าจนกุญแจเป็นมัน หมดลมไปหลาย เสียเวลาเป็นเดือนมาสำเร็จเอาตอนที่ท่านทำใจสบาย รวบรวมสมาธิเป็นหนึ่งเดียว เป่าพรวดไปเท่านั้น กุญแจก็หลุดพลัวะออกทันที จึงทดลองล็อคใหม่ แล้วเป่าอีกก็หลุดอีก ทดลองกี่ลูกก็หลุดไม่มีเหลือ จนต้องเพิ่มแม่กุญแจถึง 40 กว่าดอกแขวนไว้เต็ม พอเอามือแตะราวเท่านั้นก็หลุดหมด เป็นที่ชอบอกชอบใจแก่หลวงพ่อปานยิ่งนัก
หลังจากหลวงพ่อสุ่น ทดลองความอดทนของหลวงพ่อปานจนพอใจแล้ว ก็เริ่มสอนวิปัสสนาให้ ตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงที่สุด ซึ่งหลวงพ่อปานก็ขยันหมั่นเพียรฝึกฝนตามที่หลวงพ่อสุ่นสั่งสอนได้ทุกอย่าง เช่น ตักน้ำด้วยอิทธิฤทธิ์จนเต็มตุ่มโดยที่ท่านไม่ต้องลงจากกุฏิ เรียกฝนจะให้ตกที่ไหน เมื่อไรได้ทั้งนั้น ทำที่มืดให้สว่าง เสกไฟให้ลุกไหม้ เดินบนน้า เหาะขึ้นบนอากาศ แล้วหลวงพ่อสุ่นก็ได้สอนหลวงพ่อปานในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็น เป็นการอวดดีจะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้
จบจากวิปัสสนาแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาทางแพทย์แผนโบราณ การพิจารณารากไม้สมุนไพร การต้ม การรักษาโรคด้วยสมุนไพรใบยา และด้วยอิทธิฤทธิ์ การปราบภูตผีปีศาจ การแก้ผู้ถูกของกระทำย่ำยี ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิต ของคนผู้ได้รับความทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก หลวงพ่อสุ่นได้กล่าวแก่หลวงพ่อปานว่า “การเป็นหมอบังคับไม่ให้คนตายไม่ได้ เป็นแต่เพียงช่วยระงับทุกขเวทนาเท่านั้น จะต้องตรวจให้รู้ก่อนว่าเป็นโรคอะไร คือ ทำให้ร่างกายคนไข้เป็นอากาศ เป็นช่องว่าง แล้วอธิษฐานให้โรคนั้นปรากฏ ทำใจของราให้สว่าง แล้วจะมองเห็นโรคได้ชัดโรคที่เป็นจริงมันเป็นตรงไหน อาการเป็นอย่างไร เป็นเรื่อง “จักษุญาณ” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกระสิณต่างๆให้หลวงพ่อปานจนหมดสิ้นความรู้
ธุดงค์ลองวิชา
เมื่อหลวงพ่อปานเรียนวิชาวิปัสสนาและกสิณ สำเร็จทางภาคทฤษฎีแล้ว หลวงพ่อสุ่นจึงให้ลองทางภาคปฏิบัติบ้าง คือ การออกธุดงค์ เพื่อผจญภัยเพิ่มพูนประสบการณ์ ทำให้วิชาที่ได้ศึกษามาเข้มแข็งมากขึ้น ว่ากันว่าการออกธุดงค์ในสมัยนั้น ถ้าวิชาไม่เข้มแข็งจริง ก็จะเอาชีวิตรอดออกมาจากป่าที่ไปธุดงค์นั้นยาก เพราะจะต้องผจญกับสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่า ภูตผีปีศาจ และการทดลองของผู้มีวิชาคาถาอาคม
หลวงพ่อสุ่นท่านเห็นว่า วิชาการที่ท่านได้มอบให้หลวงพ่อปานนั้นมั่นคงพอสมควรแล้ว จึงได้สั่งให้หลวงพ่อปานหากลดและเครื่องบริขารการธุดงค์เตรียมออกเดินทางมุ่งไปทางปราจีนบุรี โดยไม่มีผู้ร่วมทาง
อมนุษย์ลองวิชาหลวงพ่อปาน
และแล้วหลวงพ่อปานก็เริ่มออกธุดงค์ เดินทางรอนแรมไปยังจุดหมายที่กำหนดไว้ คือปราจีนบุรี ซึ่ง ณ ที่นั้นมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อกราบไหว้ ตั้งใจกำหนดว่า ที่นั่นคือที่ที่สมเด็จพระบรมทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ระหว่างทางที่หลวงพ่อปานธุดงค์ไปนั้น วันหนึ่งมีชาวบ้านมาถวายอาหารท่านในตอนเช้า ในจำนวนนั้นมีชายหนุ่มสองคนแต่งกายเรียบร้อยกว่าคนอื่นได้ทำแกงพุงปลาพร้อมกับข้าวสุกทนึ่งโถมาถวาย ซึ่งข้าวสุกที่ชายหนุ่มสองคนนำมาถวายนี้ ขาวสะอาจผิดสังเกต. จึงทำให้หลวงพ่อปานเกิดความสงสัยและระลึกถึงหลวงพ่อสุ่นพระอุปัชฌาย์ที่พร่ำสอนว่า เวลาออกธุดงค์ หากมีผู้นำอาหารมาถวายให้ทำน้ำมนต์พรมเสียก่อน แล้วค่อยฉัน ท่านจึงทำน้ำมนต์พรมลงไ ทันใดนั้นแกงพุงปลา และข้าวสุกก็กลับกลายเป็นกรวดทรายและหนามยาวผูกไข้วไว้
อมนุษย์ทั้งสอง เมื่อเห็นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปก็ตกใจ เกรงชาวบ้านจะรุมประชาทัณฑ์ จึงแก้เก้อด้วยการบอกว่าเพียงแต่จะลองวิชา ถ้าท่านฉันจริงก็จะรีบห้ามไว้ จากนั้นก็นิมนต์ให้หลวงพ่อปานพักอยู่สัก 2-3 วัน ซึ่งหลวงพ่อปานก็รู้ว่ากำลังจะถูกลองวิชาจากชายทั้งสอง แต่ก็มิได้เกรงกลัวจึงรับนิมนต์ไว้ทันที
ตกดึกคืนวันเดียวกันนั้นเอง ขณะที่หลวงพ่อปานกำลังเจริญภาวนาอยู่ภายในกลดนั้น พลันก็รู้สึกว่ามีสัตว์ตัวใหญ่มาเกาะอยู่บนยอดกลด ท่านจึงใช้ไม้แหลมแทงขึ้นไปก็มีหนังควายผืนใหญ่ตกลงมาทันที รุ่งขึ้นตอนเช้าท่านก็นำหนังควายผืนใหญ่นั้นมารองนั่ง รอเวลาให้อมนุษย์ทั้งสองนั้นมาลองวิชากับท่านอีกอย่างไม่พรั่นพรึง ไม่นานนักเจ้าอมนุษย์ทั้งสองก็นำเอาอาหารมาถวาย หลวงพ่อปานก็เอาน้ำมนต์ประพรมดู เห็นเป็นอาหารปกติจึงเริ่มลงมือฉัน ระหว่างที่ฉันอยู่นั้นหนังควายผืนใหญ่ที่รองนั่งอยู่ก็เริ่มหดเล็กลงๆ ท่านก็เอาน้ำมนต์พรมลงไปหนังควายผืนนั้นก็ยืดออกธรรมดา อมนุษย์ทั้งสองเมื่อเห็นว่าไม่สามารถทำอย่างไรกับหลวงพ่อปานได้ จึงเลิกราไป หลวงพ่อปานจึงออกธุดงค์ไปจนบรรลุจุดหมายปลายทาง เมื่อกลับมาถึงวัดแล้ว หลวงพ่อสุ่นได้กล่าวแก่หลวงพ่อปานว่า วิชาทั้งหลายที่มีก็สอนให้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ขอให้ไปเสาะหาอาจารย์เพื่อศึกษาวิชาเพิ่มเติมในด้านอื่นๆพร้อมทั้งแนะนำให้ไปศึกษาด้านปริยัติธรรมที่วัดจ้าเจ็ดใน
ดังนั้น หลวงพ่อปานจึงได้ลาจากหลวงพ่อสุ่นองค์อุปัชฌาย์เพื่อไปศึกษาต่อ ซึ่งการจากมาของหลวงพ่อปานครั้งนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อสุ่น เพร่ะต่อมาหลวงพ่อปานก็ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดรับใช้หลวงพ่อสุ่นอีกเลย จนกระทั่งหลวงพ่อสุ่นมรณภาพ
อาจารย์จีนวัดเจ้าเจ็ดใน
หลังจากหลวงพ่อสุ่น ได้แนะนำสำนักเรียนคือวัดเจ้าเจ็ดในแก่หลวงพ่อปานแล้ว หลวงพ่อปานก็กลับมาวัดบางนมโคเพื่อเตรียมตัวไปเรียน ซึ่งการไปเรียนที่วัดเจ้าเจ็ดในนี้ จะต้องเดินทางโดยพายเรือไปเช้าเย็นกลับด้วยความพากเพียรยิ่ง
จากปากคำของชาวบ้านแถววัดเจ้าเจ็ดในและผู้ที่ได้เคยศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์จันได้ความว่า ท่านอาจารย์จีนเป็นคนอารมณ์ร้าย เวลาโมโหแล้วลั้งไม่อยู่ ชนิดปากว่ามือถึง ท่านจึงสร้างกรงใหญ่ขึ้น สำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้ เวลาสอนหนังสือลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียน หรือตอบคำถามท่านไม่ได้ทำให้ท่านอาจารย์จีนเกิดโมโหตัวสั่นลุกขึ้นยืนขบเขี้ยวเคี้ยวฟันสองมือจับลูกกรงเขย่าจนสะเทือน ทำให้ลูกศิษย์ที่เรียนอยู่ด้วยเกิดตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอโทสะคลายท่านอาจารย์จีนก็จะสอนต่อไปตามปกติจนหมดเวลา จึงให้ลูกศิษย์ไขประตูให้ท่านออกมาพักผ่อนได้
ความเป็นคนเจ้าอารมณ์ของอาจารย์จีน หาได้เป็นอุปสรรคแก่หลวงพ่อปานไม่ เพราะหลวงพ่อปานท่านเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร แม้แต่เวลาพายเรือเดินทางทั้งไปและกลับ ก็สวดท่องบทเรียนที่ท่านอาจารย์สอนจนขึ้นใจ ครั้นเวลาเรียนก็ตอบได้ถูกใจท่านอาจารย์เป็นยิ่งนัก ในที่สุดก็สิ้นความรู้ที่พระอาจารย์จีนจะสอนให้ ท่านจึงเดินทางกลับ และเสาะหาสำนักเรียนต่อไป คือ
หลวงพ่อปั้นวัดพิกุล
จากการสอบถามท่านพระภิกษุเลี่ยม ทรงมิตร ได้ความว่าหลวงพ่อปานได้เคยเล่าให้ท่านฟังว่า ได้เคยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ได้วิชามาหลายอย่าง และท่านเองยังเคยได้พิมพ์คาถาหลวงพ่อปั้นออกแจก เป็นหลักฐานยืนยันได้อีกด้วย พระภิกษุเลี่ยม ปัจจุบันพักอยู่ที่กุฏิเดิมของหลวงพ่อปานที่ใช้จำวัด
เรียนในสำนักวัดสะเกษ
หลังจากอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะถ่ายทอดให้อีกแล้ว จึงคิดที่จะเข้ากรุงเทพฯเพื่อศึกษาต่อ เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาต่างๆมากมาย จึงได้ไปเรียนต่อโยมมารดาเพื่อขออนุญาตแต่โยมมารดาเพราะความเป็นห่วงท่าน เพราะเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นเป็นหญิงออกเรือนไปหมดแล้ว จึงขอร้องว่าอย่าไปเลย อยู่ที่นี่ก็เห็นว่าดี หลวงพ่อปานเห็นว่าโยมมารดาไม่อนุญาตแล้ว ท่านจึงลากลับวัด
อีกหลายวันต่อมา หลวงพ่อปานก็ไปหาโยมมารกาอีกเพื่อออกปากขอยืมเงินจำนวนหนึ่งไปทำธุระ แต่โยมมารดารู้ทันว่าถ้าให้เงินไปหลวงพ่อปานก็คงจะจากท่านเข้ากรุงเทพฯแน่ จึงบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ แต่หฟลวงพ่อปานท่านเป็นคนจิตใจเด็ดเดี่ยว ลงได้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ท่านก็จะต้องไปให้จงได้ พลันได้คิดว่าโยมมารดาเคยถวายจีวรแพรไว้ให้กับท่าน จึงตัดสินใจนำจีวรแพรไปขายได้เงินมาแปดบาท
หลังจากได้เงินมาแปดบาทแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้ายว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ แต่จะไปเรียนสำนักไหนยังไม่ได้ตระเตรียม เพราะเงินก็มีอยู่เพียงแปดบาทเท่านั้น หลวงปู่คล้ายจึงได้แนะนำให้ไปอยู่สำนักวัดสะเกษ กับพระอาจารย์จีน ทั้งยังได้มอบเงินไว้ช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นทุนให้หลวงพ่อปานได้ศึกษาเล่าเรียน หลังจากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้เดินทางด้วยเรือเมล์จากบางนมโคมุ่งสู่กรุงเทพฯโดยไม่ได้บอกให้โยมมารดารู้
ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์จีน ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติมในด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้ไพเราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก นอกจากวัดสะเกษแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวชด้านแพทย์แผนโบราณอีกด้วย
จากหนังสืออนุสรณ์ครบรอบ 100 ปีของหลวงพ่อปานกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างที่อยู่วัดสะเกษนั้นอัตคัดมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอฉัน แต่ท่านก็อดทนด้วยได้รับการอบรมจาหลวงพ่อสุ่นพระอุปัชฌาย์ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯสามปี ได้ฉันกระยาสาตรเพียงครั้งเดียวโดยนางเฟื่องคนกรุงเทพฯนำมาถวายได้รับนิมนต์ไปบังสุกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึงจาหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียจึงไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไปท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด เหลือเพียงหนึ่งบาท ซึ่งท่านตั้งใจจะใช้ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น
ในปีสุดท้ายของการศึกษา ที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง พอตกกลางคืนก็มีเสียงเคาะประตูกุฏิ พอท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวยแก่ท่าน แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ เทวดาก็จากไป ท่านก็มานอนคิดจนนอนไม่หลับทั้งคืน แม้ท่านจะขัดสนเรื่องเงินทอง ที่จะนำมาใช้จ่ายในด้านการศึกษาเพียงใดก็ตาม ท่านก็คิดว่าเรื่องหวยนี้ไม่ใช่กิจของสงฆ์ตามที่หลวงพ่อสุ่นอบรมท่านมา ท่านจึงไม่สนใจและวันนั้นเองหวยก็ออกตามที่เทวดามาบอก
เรียนวิชาจากชีปะขาว
พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิชาวิปัสสนากรรมฐานที่ศาลาไว้ศพวัดบางนมโค โดยใช้การพิจารณาอศุภกรรมฐาน เมื่อจิตเป็นสมาธิก็เห็นชีปะขาวเดินมาหาท่านลืมตาขึ้นดูก็เห็นชีปะขาวถือไม้ท้าวมาบอกให้สร้างพระพิมพ์ เป็นรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปางสมาธิ มี 6 ชนิด อยู่ใต้ที่ประทับคือ หนุมาณ พญาครุฑ นก ไก่ เม่น และ ปลา และมีคาถากำกับแต่ละตัวมาด้วย
อาจารย์แจงฆราวาสชาวสววรคโลก
จากบันทึกของหลวงพ่อฤษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจงเป็นฆราวาสชาวสวรรคโลก ได้เดินทางล่องมาทางใต้ถึงวัดบางนมโค และเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนท่านให้รู้ถึงวิธีการปลุกเสกพระ และวิธีสร้างพระ ซึ่งอาจารย์แจงได้รับสืบต่อจากอาจารย์อีกทอดหนึ่ง โดยนิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ และถ่ายทอดวิชาให้ นอกจากหนั้นยังได้มหายันต์เกราะเพชร อันเป็นยอดธงมหาพิชัยสงครามอีกด้วย หลังจากนั้นหลวงพ่อปานได้ใช้วิชาที่ได้รับจากพระอาจารย์แจง นำมาสร้างพระพิมพ์ ตามที่ชีปะขาวเคยบอกไว้
หลวงพ่อเนียมวัดน้อย
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ. บางปลาม้า จ. สุพรรบุรี มีญาณแก่กล้ามาก มีวัตรแปลกๆ คนทั่วไปมักจะหาว่าท่านไม่ค่อยจะเต็ม แต่หลวงพ่อปานกลับนับถือเลื่อมใสท่าน ถึงกลับลงทุนธุดงค์ไปหาท่านด้วยใจเคารพนับถือ ครั้งนั้น เมื่อหลวงพ่อปานธุดงค์ไปถึงวัดน้อยได้เห็นพระแก่ๆ องค์หนึ่งครองจีวรเก่าคร่ำคร่า กำลังกวาดลานวัด และมีหมาแมวอยู่ล้อมรอบตัวท่านก็ข้าไปกราบถมหาหลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมก็บอกว่าท่านนี่แหละ แต่ไม่มีวิชาอะไรที่จะสั่งสอน พร้อมทั้งทำทีท่าเป็นโมโหขับไล่หลวงพ่อปาน แต่ท่านก็อดทนรอจนตอนค่ำจึงขึ้นไปหาหลวงพ่อเนียมใหม่ คราวนี้หลวงพ่อปานถึงกับอุทานออกมาด้วยความแปลกใจว่า พระแก่ที่เห็นครองจีวรเก่าคร่ำคร่าเมื่อตอนกลางวันนั้น บัดนี้ครองจีวรเรียบร้อยมีผิวกายเหลืองดั่งทองทา คล้ายจะเป็นผู้สำเร็จแล้ว หลวงพ่อปานจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ขอรับการสั่งสอน
การเรียนวิชากับหลวงพ่อเนียมนั้น ต้องนั่งสมาธิกันอยู่คนละห้อง เมื่อหลวงพ่อปานทำผิดตอนใด ก็จะได้ยินเสียงหลวงพ่อเนียมแนะนำสั่งสอนให้ทำให้ถูก จนต่อมาหลวงพ่อปานก้าวหน้าจากเดิมขึ้นมาก และได้วิชาอีกมากมายจากหลวงพ่อเนียม
หลวงพ่อเนียมองค์นี้เคยสร้างพระเนื้อชินเข้าปรอท เป็นรูปพระงบน้ำอ้อย มีอิทธิปาฏิหาริย์มาก เมื่อท่านมรณภาพอยู่ในท่าไสยาสน์ ร่างของท่านไม่มีกลิ่น ไม่เน่าเปื่อย เป็นลักษณะของคนธรรมดา เนื้อหนังก็ไม่แข็ง หลวงพ่อปานสั่งกรรนมการวัดไว้ว่าเมื่อถึงกำหนดเผาหากเปิดดูเห็นยังเหมือนเดิมก็ให้เก็บรอท่าท่านก่อน แต่พวกกรรมการหาได้เชื่อฟังท่านไม่ เมื่อถึงกำหนดเปิดหีบดูเห็นยังมีลักษณะไม่เน่าไม่เปื่อยก็จัดการฌาปนกิจเสีย จึงทำให้หลวงพ่อปานเสียใจมาก
อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรี มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวารไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้เกิดศรัทธาปสาทะเป็นอย่างยิ่ง มีความเมตตาปราณีแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ไม่เจ้ายศเจ้าอย่างต้อนรับผู้คนที่เข้ามาหาไม่เลือกเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ว่ากันว่าบุคคลที่มีจิตใจชั่วช้ามัวเมา หากได้สนทนากันหลวงพ่อแล้วไซร้ จะกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จากหนังสืออนุสรณ์ครบ 100 ปี ของหลวงพ่อปานกล่าวไว้ว่า “ท่านไม่ยินดียินร้ายในโลกธรรมแต่ประการใดคงปฏิบัติตนเหมือนพระแก่ๆองค์หนึ่ง ที่ไม่ต้องการยศถาบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างบใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไปตามกำลังสามารถเท่านั้น”
กิจวัตรประจำวันของท่าน ยามที่ท่านอยู่วัดก็คือ หลังจากที่ท่านฉันข้าวเรียบร้อย ท่านจะพักผ่อนจนถึงเวลาเพลนั่นคือเวลาที่ท่านได้พักผ่อนจริงๆ จากนั้นท่านก็จะออกมานั่งรับแขกและทำน้ำมนต์เตรียมไว้เพื่อรักษาคนไข้ที่บากหน้ามาหาท่าน ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆมีคนมาหาท่านเพื่อขอความช่วยเหลือเป็นร้อยๆราย บ้างก็รดน้ำมนต์ บ้างก็พ่นน้ำมนต์ บ้างก็ขอยาไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตั้งแต่เพลจนถึง 4 หรือ 5 ทุ่มจึงจะเสร็จงาน หากเป็นเราๆท่านๆคงทนนั่งอย่างท่านไม่ได้แน่ และเป็นอยู่อย่างนี้จวบจนกระทั่งมรณภาพ
ไม่หลงในยศฐาบรรดาศักดิ์
เมื่อหลวงปู่คล้าย เจ้าอาวาสวัดบางนมโค มรณภาพลง ชาวบ้านและพระภิกษุสงฆ์ได้พร้อมใจกันอาราธนาหลวงพ่อปานขึ้นครองวัดบางนมโคแทน ท่านก็ไม่รับเพราะท่านหน่ายเสียแล้วจากการกิเลส กลับแนะนำให้เชิญท่านสมภารเย็น ซึ่งเป็นลูกวัดขึ้นมารับตำแหน่งแทน ส่วนท่านขอเป็นพระลูกวัดต่อไปอย่างเดิม แต่เนื่องจากท่านได้สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นบางนมโค และสถานที่อื่นมากมาย ในที่สุดความดีของท่านทางฝ่ายบ้านเมืองจึงตอบแทนความเป็นผู้เสียสละของท่าน ด้วยการมอบถวายสมณศักดิ์ให้แก่ท่าน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 เป็นที่ “พระครูวิหารกิจจานุการ” โดยมี
1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ
2. พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิพินิจ
3. หม่อมเจ้าโฆษิต
4. หม่อมเจ้านภากาศ
5. ท้าววรจันทร์
บรรดาสานุศิษย์และข้าราชการ ได้นำพัดยศพระราชทานมามอบให้ท่านถึงที่วัดตาม พระบรมราชโองการ พิธีจัดขึ้นในอุโบสถ ท่ามกลางคณะสงฆ์และชาวบ้านต่างก็แซ่ซร้องสาธุการกันถ้วนทั่ว แต่หลวงพ่อปานท่านก็วางเฉยด้วยอุเบกขา ผู้ที่ยินดีและดีใจมากที่สุด กลับเป็นบรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อปานมากกว่าตัวท่านเอง หลังจากได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว หลวงพ่อปานท่านก็เป็นหลวงพ่อปานองค์เดิม ปฏิบัติกิจวัตรอย่างที่แล้วๆมามิได้เปลี่ยนแปลง
มีความกตัญญูมากล้น
ท่านกลับจาการศึกษาที่กรุงเทพฯในปี พ.ศ. 2444 ท่านได้ไปหาโยมมารดา เพื่อขอขมาในการที่ไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯโดยไม่ได้บอกกล่าว และเมื่อเห็นโยมมารดาของท่านอยู่บ้านคนเดียว ก็มีใจคิดอยากได้รับใช้ใกล้ชิดตามสภาวะของท่าน จึงเรียนโยมมารดาให้ย้ายบ้านเข้ามาปลูกอยู่ในบริเวณวัดเสีย เพื่อสะดวกในการดูแล และท่านรู้ดีว่าโยมมารดาของท่านนั้น มีความตระหนี่ในการบริจาค การนำโยมมารดาเข้าใกล้วัด เพื่อให้เห็นและยินดีในการบริจาคทานเป็นการลดความตระหนี่ลง และในปี 2455 เมื่อโยมของท่านถึงแก่กรรมลง ท่านก็จัดงานฌาปณกิจอย่างสมเกยรติ
เป็นเอกในการเทศน์
นอกจากจะเก่งกล้าทางคาถาอาคม อิทธิฤทธิ์ และการรักษาโรคแล้ว ความรู้ทางด้านปริยัติธรรมของหลวงพ่อปานก็สูงส่งยิ่งนัก ท่านเทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทให้ละบาปบำเพ็ญบุญ แสดงธรรมคราวใด ผู้ฟังจะเกิดศรัทธาเลื่อมใส และนิยมชมชอบท่านมาก ท่านเทศได้ไพเราะสมเหตุสมผลพร้อมทั้งยกตาอย่างเปรียบเทียบถึงผลดีผลเสีย ยากที่สมัยนั้นจะหาพระที่เทศได้ไพเราะอย่างท่าน
บารมีหลวงพ่อปาน
จากบันทึกของคุณเจริญ ทรงพร แปลว่า
หลวงพ่อปาน ท่านเตือนถึงภัยแห่งการทำอศุภกรรมฐาน ให้พระภิกษุฟังในตอนเข้าพรรษาว่า การนำเอาศพมาเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติกรรมฐานนั้น ต้องเป็นคนกล้าดีจริงๆมิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ ต้องระมัดระวังและมีความอดทน ควบคุมสติอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะเสียสติเมื่ออศุภนั้นออกอาละวาด แล้วท่านก็เล่าว่า วันหนึ่งท่านลงไปสรงน้ำที่ท่าวัดบางนมโคก็มีศพชายผู้หนึ่งตายเน่ามาหลายวัน กำลังขึ้นอืดเต็มที่ ตาถลนแลบลิ้นออกมาจุกปาก มือกางเท้ากาง ลอยน้ำเข้ามาใกล้ตัวท่าน ท่านก็หยุดนิ่งพิจารณาธรรมสังเวช และน้อมนำเข้าหาตัวท่านเองว่า อนิจจาความตายนี่หนอเป็นจริงเยี่ยงนี้ทุกคน ไม่มีใครล่วงพ้นความตายนี้ไปได้
ในคืนนั้นเอง ท่านก็เอาศพอศุภที่ได้เห็นขึ้นมาพิจารณาเทียบเคียงจนติดหูติดตา จนกระทั่งจิตสงบเป็นเอกคัคตา อศุภนั้นก็ลอยเด่นนิ่งอยู่ ฉับพลันอศุภนั้นก็ลุกพรวดพราดขึ้นเตะท่านที่สีข้างทันทีจนท่านรู้สึกเจ็บ ท่านเห็นว่าอันตรายมาใกล้ตัวแล้ว จึงใช้วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมาป้องกันตัว และขับไล่อศุภนั้นจนหนีไป
พบช้างพระโพธิสัตว์
ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อปานท่านเป็นหัวหน้าคณะ พาพระธุดงค์ไปธุดงค์กัน 5 รูป รวมทั้งตัวท่าน มุ่งสู่พระพุทธบาท สระบุรี ครั้นเวลาเย็นได้พบชัยภูมิอันเป็นทุ่งว่าง ห่างจากหมู่บ้าน 2 กิโลเมตร และเป็นปากทางเข้าออกจากป่าเพียงทางเดียว จึงปักกลดเพื่อพักแรม ไม่นานนักก็มีชาวบ้านนำน้ำและอาหารมาถวาย แล้วบอกว่าขออาราธนาพระคุณเจ้าถอนกลดไปอยู่ในเขตบ้านของพวกเราเถิด เพราะที่ที่พระคุณเจ้าปักกลดพักแรมอยู่นี้ เคยมีพระธุดงค์มาพักแบบเดียวกับพระคุณเจ้า แต่ถูกช้างทั้งโขลงมาอาละวาด ทำอันตรายจนถึงมรณภาพหลายรูปแล้ว
แต่หลวงพ่อปานท่านก็ใจเด็ด และเชื่อมั่นในวิชาของท่าน และบูชาพระธรรมวินัยเหนือชีวิต จึงบอกปฏิเสธจนชาวบ้านอ่อนใจ และก่อนที่พวกชาวบ้านจะนมัสการลากลับ ก็ได้บอกว่า ถ้าตอนกลางคืนมีช้างมาอาละวาดให้เคาะฝาบาทแล้วพวกเราจะรีบมาช่วย หลังจากชาวบ้านลากลับไปแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ไม่ประมท สั่งให้พระที่ร่วมไปกับท่านให้เจริญกรรมฐานว่าด้วยพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทำเป็นฌาน ให้แผ่เมตตาไปทั่วทั้งสากลจักรวาล ตกเวลาสักประมาณสี่ทุ่มเศษ จริงดังที่ญาติโยมได้บอกไว้ เสียงช้างป่าทั้งโขลงได้เคลื่อนตัวออกจากป่าดังพสุธาจะถล่มทลาย ตรงมายังกลดหลวงพ่อปาน และพระธุดงค์ที่ร่วมทางมา แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็ปรากฏ แทนที่เจ้าช้างสีดอตัวจ่าฝูงจะนำโขลงช้างเหยียบย่ำทำลายกลด กลับยืนค้ำกลดไว้ดังกำแพงเหล็ก บรรดาลูกฝูงเมื่อออกจากป่าก็ต้องเลี่ยงออกไปทางด้านข้างจ่าฝูง ค่อยๆเบียดผ่านไปทีละตัวจนถึงตัวสุดท้ายอันเป็นช้างเกเร เมื่อเห็นกลดหลวงพ่อปานจึงยื่นงวงเข้าหมายจะกระชากกลดให้ล้มลง แต่ทันใดนั้นงวงอันยาวใหญ่ของจ่าโขลงก็หวดเข้าให้เต็มที่เสียงดังพลั่ก จนเจ้าช้างเกเรหัวซุนดินทันที แทนที่จะเข็ดหลาบมันกลับตรงเข้ามาอีก สุดท้ายแทนที่จ่าโขลงจะใช้งวงตี กลับใช้งวงจับงาของเจ้าช้างเกเรไว้บิดเต็มกำลัง จนมันร้องลั่นล้มลงกับดินและพยศเดินจากไปทันที เจ้าช้างจ่าโขลงหยุดดูอยู่ จนกระทั่งเห็นว่าปลอดภัยแน่แล้ว จึงยกงวงขึ้นจบเหนือหัวนมัสการหลวงพ่อปาน แล้วก็จากเข้าป่าหายไป จนเหตุการณ์ที่ปรากฏทำให้หลวงพ่อปานเชื่อว่า เจ้าช้างจ่าโขลงตัวนี้คงเป็นช้างพระโพธิสัตว์แน่
รู้วันตายของผู้อื่น
ในการธุดงค์ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อปานได้ชวนพระร่วมธุดงค์ไปกับท่านด้วยหลายองค์ ในจำนวนนี้มีพระภิกษุเขียนร่วมธุดงค์ไปกับท่านด้วย เมื่อไปถึงพระพุทธบาท สระบุรีแล้ว ก็ปักกลดพักแรมอยู่ พอตกกลางคืนประมาณตีสาม พระทุกองค์ก็ได้ยินเสียงหลวงพ่อปานพูดออกมาจากกลดของท่านว่า “นั่นใครมายืนอยู่ข้างกลดพระเขียน”
ทุกองค์ที่ร่วมทางไปด้วย ต่างก็มองไปกลดของพระเขียนเป็นจุดเดียวกัน ก็ไม่เห็นอะไรนอกจากต้นไม้ใหญ่สูงเท่าต้นยาง พลันก็นึกขึ้นมาได้ว่า ตอนที่ปักกลดไม่เห็นมีต้นไม้แถวนี้เลย จึงหันกลับไปดูใหม่ คราวนี้ไม่ใช่ต้นไม้ แต่เป็นยักษ์ ซึ่งพระทุกองค์ก็ไม่มีใครตกใจ เพราะเชื่อในบารมีของหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปานจึงถามยักษ์ว่า “มายืนอยู่ทำไม” เจ้ายักษ์ตนนั้นตอบว่า “ผมขอพระองค์นี้ได้ไหม” พร้อมทั้งชี้มือไปทางพระเขียน
หลวงพ่อปานบอกว่า “ไม่ได้ ญาติโยมเขาฝากมาจะเอาไปไม่ได้”
เจ้ายักษ์ยืนนิ่งอยู่สักครู่ แล้วตอบว่า “ไม่ให้ก็ไม่เอาลาละ” แล้วมันก็เดินหายไปทางทิศตะวันตก
พระธุดงค์ที่ร่วมทางกันมา ถามหลวงพ่อว่ารู้ได้อย่างไร ว่าพระเขียนถึงอายุกาลมรณะ ท่านก็บอกว่าท่านรู้มาจากนายบัญชีเขา
ท่านได้หันมาถามพระเขียนว่าเป็นอย่างไร พระเขียนก็ตอบว่าเบื่อขันธ์ห้า เบื่อชีวิต เบื่อหมดทุกอย่าง หลวงพ่อปานก็ได้เสริมท้ายว่า
“ท่านรู้ว่าพระเขียนจะสิ้นอายุขัย จึงชวนมาธุดงค์เพื่อให้มีโอกาสกระทำความดีอย่างเวลาออกธุดงค์ได้”
ท่านบอกต่อไปอีกว่า “จะประวิงเวลาได้ไม่นานนักเมื่อกลับไปถึงวัดก็ให้พระเขียนเตรียมตัวได้”
แก้ลาวทำของ
ท่านมหาวีระ วักท่าซุง บันทึกไว้ว่า
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปานได้ช่วยรดน้ำมนต์ แก้การกระทำให้กลับอุบาสกคนหนึ่ง ที่นำลูกสาวให้มารักษา เมื่อแก้ได้แล้วเจ้าลาวที่เป็นตัวการกระทำก็อดได้ค่าจ้างจากผู้ว่าจ้างเป็นเงินก้อนใหญ่ จึงทำให้เจ้าลาวเคืองแค้นยิ่งนัก มันจึงเตรียมเครื่องพิธี ลอบเข้ามาที่ป่าช้าท้ายวัดในตอนค่ำ เพื่อแก้แค้นหลวงพ่อปาน
แต่หลวงพ่อปานท่านรู้ ค่ำวันนั้นหลวงพ่อท่านสั่งให้บอกกันทั่วๆไปว่า ให้พระและลูกศิษย์อยู่กันแต่ในห้อง อย่าออกมาเดินเพ่นพ่าน จนกว่าท่านจะสั่ง และจนกระทั่งรุ่งเช้า
ตกดึกคืนนั้นเอง หลวงพ่อปานท่านเล่าว่า ท่านได้ยินเสียงดังแกรกๆที่ข้างเตียงนอน ก็เห็นตะขาบตัวใหญ่กำลังมุ่งหน้ามาหาท่านอย่างประสงค์ร้าย ท่านจึงเอาขันครอบไว้แล้วใช้วิชาของท่านสั่งตะขาบว่า “ เอ้า กลับไปหาเจ้าของเดิมเสียที”
รุ่งเช้าหลวงพ่อปานก็ปลุกลูกศิษย์และพระขึ้นมา แล้วสั่งว่าให้ไปช่วยหามเจ้าลาวที่ท้ายป่าช้าวัดมาหาท่านที ช้าไปเดียวมันจะตาย พวกพระและลูกศิษย์งง แต่เมื่อท่านสั่งก็พากันไปที่ท้ายป่าช้า ปรากฏว่าพบเจ้าลาวชักดิ้นชักงอด้วยความปวดที่โดนตะขาบของตัวเองต่อย ก็สงเคราะห์หามมาหาหลวงพ่อปานๆ ก็ถามให้มันรับเป็นสัตว์ว่า มันปล่อยตะขาบมากัดท่านหวังให้มรณภาพจริงหรือไม่ และถามว่าจะรักษาให้เอาไหม เจ้าลาวก็บอกว่าช่วยที หลวงพ่อก็บอกว่ารักษาได้แต่ต้องให้รับสัญญาก่อนว่าจะบวช เมื่อบวชแล้วก็ให้เลิกวิชานี่เสียอย่าทำอีก เจ้าลาวมองเห็นมรณภัยคุกคามใกล้เข้ามาทุกที ก็ยอมรับปากกับหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปานก็ให้ดื่มน้ำมนต์ พอมันดื่มได้สามอึกก็อุจจาระออกมาการเป็นโซ่เหล็กเส้นเล็กๆ ที่มันทำเป็นตะขาบ ถ้าหลวงพ่อไม่ช่วยก็จบกัน รุ่งเช้าหลวงพ่อก็หาของมาบวชให้เจ้าลาวใจบาป เมื่อบวชแล้วก็สั่งสอนกรรมฐานให้ หลังจากนั้นก็ออกธุดงค์
อีกเรื่องหนึ่ง พระภิกษุเหล่ง เขมาชาโต ได้บันทึกไว้ว่า ตอนนั้นท่านเป็นเด็กวัดบางนมโค อายุประมาณ 17 ปี ได้มีชาวลาวผู้หนึ่ง ชื่อผัน ได้มาเป็นลูกจ้างอยู่ที่บ้านนางพริ้ง วันหนึ่งนางพริ้งก็นำนายผันมาหาหลวงพ่อปาน แจ้งความประสงค์ จะขอบวชนายผันก่อนจะเข้าพรรษา เมื่อปรึกษาตกลงกันแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็รับเป็นคู่สวดกับสมภารเย็นและนิมนต์พระอุปัชฌาย์มาให้
พระภิกษุเหล่งได้บันทึกต่อไปอีกว่า เข้าใจว่านายผันคงจะคอยดูพฤติการณ์การรักษาโรค ของหลวงพ่อปานมานานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสมาใกล้ชิดหลวงพ่อ เพื่อลองดูวิชาจึงได้ให้นางพริ้งมาบวชให้ เพื่อจะได้ใกล้ชิดหลวงพ่อมากขึ้น
ตั้งแต่ได้อุปสมบทมา ก็มิได้เอาใจใส่ในการศึกษาพระธรรมวินัยเหมือนพระนวกะรูปอื่น คงหมกมุ่นอยู่ในวิชาที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ดิรัจฉานวิชา เมื่อมีโอกาสพระผันก็จะพูดกับผู้ใกล้ชิดอยู่เสมอว่า วิชาที่ตนเรียนมานั้น หากทำให้ผู้ที่มีวิชาคาถาอาคมเป็นอาจารย์ใหญ่ลงไปได้ วิชานี้จะเพื่ออิทธิฤทธิ์มากยิ่งขึ้น มีผู้สังเกตเห็นพระผันพยายามทำของใส่หลวงพ่อปานอยู่หลายวิธี เช่น บิดไส้ คือบิดชายพกตัวเองด้วยวิชา เพื่อบิดไส้ของหลวงพ่อปาน แต่หลวงพ่อปานก็เป็นปกติดี บางครั้งก็เอาต้นกล้วยมาทำพิธีบังฟัน สมมุตว่าต้นกล้วยเป็นหลวงพ่อปาน แล้วเอามีดฟันต้นกล้วยจนขาด แต่หลวงพ่อปานก็ยังเป็นปกติดี ทำอีกหลายวิธีจนอ่อนใจ ในที่สุดก็ใช้วิธีเลวสุดยอด คือนำเอาผงขี้ตีนและของสกปรกต่างๆมารวมแล้วนั่งบริกรรม จนกลายเป็นตะขาบตัวเบ้อเร่อคลานมุ่งหน้าไปยังกุฏิหลวงพ่อปาน
พระผันกระหยิ่มใจอยู่ไม่นาน เจ้าตะขาบที่ปล่อยไปก็คลานกลับมาหา ด้วยเหตุว่าตอนนั้นหลวงพ่อปานท่านยังไม่หลับ จึงได้ยินเสียงแกรกๆใกล้กลับมุ้งที่ท่านกลางอยู่ จึงออกมาดู พอเห็นเป็นตะขาบตัวเบ้อเร่อก็บอกว่า ใครใช้เองมาก็กลับไปหามัน พระผันเห็นตะขาบคลานกลับมาก็ตกใจ แต่ไม่ทันการ เจ้าตะขาบก็พุ่งตัวเข้ากัดเจ้าของมันเองเสียจนจมเขี้ยว พระผันหน้ามืดตาลายด้วยความเจ็บปวด มองเห็นมรณกาลมาอยู่ตรงหน้า วิธีจะแก้ได้คือแหกปากส่งเสียงร้อง พระที่อยู่ใกล้กันก็พากันมาดู เห็นดังนั้นมัรู้ต้นสายปลายเหตุ ก็มาเรียกหลวงพ่อปานให้ไปดู หลวงพ่อปานก็บอกว่า ไม่เป็นไรช่างเขาเถอะ พระเหล่านั้นก็กลับไปดูพระผัน ก็เห็นว่าพระผันยังคงร้องโวยวายด้วยความเจ็บปวด ก็พากันนิในต์หลวงพ่อไปโปรดสัตว์ที่รับทุกข์ หลวงพ่อปานก็ไปดูที่ห้องพระผัน พอไปถึงหลวงพ่อปานท่านก็ถามว่า “ ตะขาบที่มากัดนี้มาอย่างไร ใครเป็นคนทำ” พระผันคงจะกลัวคนอื่นรู้ก็เลยไม่พูด ตั้งหน้าตั้งตาร้องโอยๆต่อไป บิดตัวเป็นเกลียว หลวงพ่อปานท่านก็สำทับว่า “เมื่อไม่ยอมบอกก็รักษาไม่ได้ถ้าบอกก็จะมาช่วยรักษาให้”
พระผันเห็นว่าถ้าไม่บอกคงจะต้องไปนรกแน่ จึงเปิดปากออกมาว่า “ผมเองครับที่ทำตะขาบไปกัดหลวงพ่อ” หลวงพ่อก็บอกว่า “ไม่เป็นไรเดี๋ยวก็หาย” ขาดคำหลวงพ่อปาน ก็ปรากฏว่าอาการปวดที่มีอยู่หายไปราวกับปลิดทิ้ง
หลวงพ่อปานได้อบรมพระผันว่า “ต่อไปอย่าประพฤติเช่นนี้อีก ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม การเป็นผู้น้อย มีวิชานิดเหมือนเด็กปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ทำเก่งกล้าลองดีกับครูบาอาจารย์ เท่ากับแมลงน้อยบินเข้ากองไฟ เป็นการหาทุกข์ใส่ตัว ไม่ประมาณตน ไม่มีความยำเกรงต่อครูบาอาจารย์ ทำตัวตีเสมอ คนที่มีวิชาเขาไม่ทำกัน เป็นหนทางเสื่อม” แล้วก็ชี้แจงธรรมะต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการกลับใจของพระผันๆนั่งคอตก ก้มลงกราบเมื่อแหลวงพ่อปานเทศนาจบลง พอออกพรรษาแล้วก็ออกเดินทางจากวัดบางนมโค โดยหายไป ไม่มีวี่แววว่าอยู่หนใด
หลวงพ่อปานเรียกฝน
ในปี พ.ศ.2479 ปีนั้นฝนแล้งมาก การเพาะปลูกเห็นท่าจะไปไม่ไหว น้ำท่าก็ชักจะอัตคัด เพราะปาเข้าไปถึงเดือนหกแล้วฝนก็ยังไม่มีวี่แวว หลวงพ่อปานท่านทนรบเร้าจากชาวบ้านที่มาขอให้ท่านหาทางแก้ฝนแล้ง ท่านก็รับปากว่าจะลองช่วยดูสักหน จากนั้นท่านก็กำหนดพิธีขอฝน
วันที่ท่านกำหนดก็มาถึง ทุกคนใจจดใจจ่อจักการขอฝนครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อท่านอนุญาตให้เฉพาะพวกผู้ชายที่เป็นฆราวาสร่วมพิธีได้ แต่ต้องสมาทานศีลห้าให้ครบเสียก่อน ได้เวลาหลวงพ่อก็ให้ผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีเข้าไปในวงสายสิญจน์ ในวงสายสิญจน์ก็มีเครื่องบูชาในพิธี และมีพระพุทธรูปปางคันธารราช ซึ่งเป็นพระประจำวัดบางนมโค ขนาดสูง 1.80 เมตร ท่านหลับตาว่านะโนสามจบ ขึ้นบทสัคเคกาเมชุมนุมเทวดาแล้ว ท่านก็ว่าคาถานำ ให้พระอันดับ 4 รูป ที่ท่านให้มานั่งอยู่ในวงสายสิญจน์ว่าตามท่านไปจนจบคาถา
พอท่านอาจารย์จบคาถา ก็สั่งให้อุบาสกที่มีหน้าที่ลั่นฆ้อง ให้ตีฆ้องไปเรื่อยๆอย่าหยุด ที่ให้ช่วยกันอุ้มพระคันธารราชไปลงเรือยนต์ที่ท่าน้ำหน้าวัด ใ ห้ประดิษฐานพระคันธารราชนั้นบนดาดฟ้าด้านหัวเรือ คนที่มีหน้าที่ตีฆ้องก็ตีเรื่อยไป แล้วไปนั่งอยู่ในเรือจ้างลำเล็กๆ ที่ท่านพ่วงท้ายเรือยนต์ ตีฆ้องไปด้วยอย่าหยุด
ทุกคนใจคอไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ด้วยว่าอาการนั้นร้อนอย่างเหลือหลาย บนฟ้าเล่าก็แจ่มใสสว่างไม่มีเมฆหมอก คงมีแต่แสงอันแผดกล้าของดวงสุริยา ชาวบ้านแถวละแวกนั้นดีรู้ข่าวหลวงพ่อปานจะเรียกฝน ต่างก็พากันมาคอยชมบารมีกันอยู่ริมฝั่งน้ำเต็มไปหมด
เสียงเครื่องยนต์ของเรือดังก้องกังวาน ทุกคนเงียบกริบคงมีแต่เสียงสวดมนต์ของหลวงพ่อปาน และพระอันดับสี่รูปดังสลับกับเสียงตีฆ้องอยู่ตลอดเวลา เรือแล่นออกจากท่าน้ำวัดบางนมโค มุ่งตรงไปทางตลาดบ้านแพน แล้วท่านก็สั่งให้เรือแล่นมุ่งหน้าต่อไปอีก ไม่ให้ย้อนกลับมาทางเก่า เรือก็แล่นต่อไปเรื่อยๆ ผ่านตลาดบ้านแพนไปห้านาทีกว่าแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เหมือนปาฏิหาริย์ ทันใดนั้นเองแสงแดดแผดกล้าอยู่ ก็กลับอ่อนลง ลมที่โชยมาอ่อนๆกลับพัดแรงขึ้น จนกลายเป็นพัดกระโชกขึ้น กลายเป็นพายุจนเรือแล่นต่อไปแทบไม่ไหว หลวงพ่อปานท่านก็หยุดสวดมนต์ลง พยับฝนก็ครึ้มมาทั่วบริเวณ ตอนนี้หลวงพ่อปานท่านนั่งเข้าสมาธิเป็นคราวๆ บางครั้งก็ลืมตาขึ้นดูเหตูการณ์บ้าง เป็นเวลานานประมาณห้าสิบนาทีพายุฝนปั่นป่วน
หลวงพ่อปานท่านทำสมาธิ ภาวนาอีกไม่นาน พระพิรุณก็สาดสายกระหน่ำลงมาอย่างหนักไปทั่วบริเวณ เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจว่า ฝนนั้นตกเฉพาะทางด้านหลังของเรือ คือ ทางด้านหลังพระคันธารราช ด้านหน้าไม่มีตกเลย เรือแล่นไปถึงไหน ฝนก็ตกตามไปอย่างหนักตลอดทาง หลวงพ่อสั่งให้แล่นต่อไปเรื่อย แล้วกลับเข้าคลองเรียกว่าคลองบางปลาหมอ เรียกว่าแล่นเป็นวงกลมจนกระทั่งกลับถึงวัด ผู้คนสองฟากฝั่งเปียกฝนไปตามๆกัน ต่างก็ยกมือท่วมหัวว่า โอ้หลวงพ่อท่านมาเป็นผู้โปรดสัตว์แน่แล้ว ทุกคนที่ได้เห็นเหตุการณ์นี้จะไม่มีวันลืมเป็นอันขาด ในชั่วชีวิตนี้
พระนักพัฒนา
มีบันทึกแสดงไว้อย่างชัดแจ้ง ถึงการเป็นนักพัฒนาของท่านหลายตอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านมิได้อยู่นิ่งเฉย ท่านพยายามสร้างความเจริญ ให้แพร่ขยายออกไปจากวัดของท่านเองก่อน เมื่อวัดของท่านเจริญแล้ว ท่านก็แผ่ขยายออกไปอีกตามวัดต่างๆ ทั้งที่มีผู้มาขอให้ท่านช่วย และที่ท่านไปพบเห็นด้วยตัวของท่านเอง โดยแบ่งออกเป็นสองภาค คือ ภายในวัดและภายนอกวัด
เริ่มจากสิ่งก่อสร้าง ชิ้นแรกของท่านในวัดบางนมโคก็คือ
1. พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปี พ.ศ.2451 โดยรื้อพระเจดีย์องค์เดิมที่เป็นของคู่วัดบางนมโคลง แล้วสร้างขึ้นใหม่
ท่านคิดจะสร้างพระเจดีย์มาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2446 แต่ท่านก็คิดไม่ตกว่า จะหาทุนมาได้จากที่ไหน จึงดับความคิดคำนึง ด้วยการไปนั่งวิปัสสนาหาวิเวกในป่าช้า และในปี พ.ศ. 2446 ก็ได้มีชีปะขาวมาบอกให้สร้างพระ เพื่อนำรายได้ไปสร้างพระเจดีย์ให้สำเร็จผล โดยทำเป็นรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเหนือสัตว์พาหนะทั้งหกอย่าง ดังจะกล่าวรายละเอียดต่อไป
ท่านเองก็ยังไม่ได้สร้างพระล่วงมาจนถึงปี พ.ศ. 2451 ได้มีฆราวาสชื่ออาจารย์แจงชาวสวรรคโลก ล่องใต้มาหาท่านที่วัดบางนมโค ชอบสมณสารูปของท่าน จึงได้มอบตำราสร้างพระและปลุกเสกพระตามแบบพระล่วงเจ้า ดังมีความละเอียดในภาคที่หลวงพ่อปานเรียนวิชา
พ.ศ.2451 ท่านได้สร้างพระ และแจกไปโดยไม่คิดมูลค่า แต่บอกว่าท่านจะสร้างเจดีย์ขึ้นแทนองค์เดิม ปรากฏว่าสาธุชนที่ได้พระไป ก็ช่วยกันบริจาคทรัพย์ร่วมสร้างพระเจดีย์กับท่านจนสำเร็จ
2. เพื่อความสามัคคีของพระภิกษุในวัดบางนมโคโดยสร้างกุฏิรวมกัน จากที่แยกกันมาแต่เดิม โดยมีคณะเหนือและคณะใต้ มารวมกันเป็นคณะเดียวกันเสีย ในการวางแผนสร้างกุฏิครั้งนี้เอง ที่เป็นเหตุให้เกิดเหตูเกี่ยวกับนางตะเคียนที่หลวงพ่อปานดำริจะสร้างกุฏิแล้วโค่นต้นตะเคียนเสีย
อภินิหารนางตะเคียน
เมื่อหลวงพ่อปานตกลงใจ จะสร้างกุฏิให้เป็นระเบียบเดียวกันแล้ว หมู่กุฏินั้นจะต้องอยู่ใกล้ต้นตำเคียนคู่สองต้น ที่หน้าวัดด้านที่ติดกับริมน้ำ ถ้าไม่โค่นตะเคียนกิ่งก้านตะเคียนจะหักลงมาทับกุฏิให้เสียหาย
การจะทำการโค่นตะเคียนเก่าแก่ประจำวัดนั้น จำต้องทำพิธีบวงสรวงเสียก่อน เพื่อขอขมานางตะเคียนที่อาศัยอยู่ตามพิธีไสยศาสตร์
เมื่อเสร็จพิธีบวงสรวงแล้ว หลวงพ่อปานก็สั่งให้คนวานลงมือโค่นต้นตะเคียน จะเป็นด้วยเหตุใดไม่รู้ คนงานที่จะทำการโค่นต้นตะเคียนกลับมากันไม่พร้อม หลวงพ่อปานจึงเข้าไปจำวัดพักผ่อนในกุฏิเพื่อรอเวลา เป็นโอกาสเหมาะของนางตะเคียน ในขณะที่หลวงพ่อปานเข้าไปจำวัด จึงเข้าไปหาท่านในรูปร่างของหญิงสาวส่งเสียงร้องให้ จนกระทั่งหลวงพ่อปานตื่นจากจำวัด
หลวงพ่อปานจึงเอ่ยถามนางตะเคียน ถึงเรื่องเดือดร้อนถึงกับมานั่งร้องให้ นางตะเคียนก็ก้มลงกราบแทบเท้าของหลวงพ่อปานแล้วบอกว่า หลวงพ่อเจ้าขาอย่าได้ทำลายที่อยู่อาศัยของนางทั้งสองเลย เพราะได้อาศัยมานานแล้ว ถ้าโค่นเสียจะไปอยู่ที่ใดกัน ขอหลวงพ่อเมตตาด้วยเถิด
หลวงพ่อปาน ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง เห็นความเดือดร้อนของนางตะเคียนจึงถามว่า เธอทั้งสองจะสัญญากับหลวงพ่อได้ไหมว่า ถ้าการสร้างกุฏิขึ้นแล้ว กิ่งก้านสาขาของเธอทั้งสอง จะไม่ทำอันตรายกุฏิ นางตะเคียนก็ให้สัญญาว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เราทั้งสองขอให้สัญญาว่า จะไม่ทำให้กุฏิของพระคุณเจ้าเป็นอันตรายแม้แต่น้อยเลยเจ้าข้า หลวงพ่อก็พูดต่อไปว่า ถ้าหากกุฏิของฉันเป็นอันตรายเพราะกิ่งก้านของเธอทั้งสอง ฉันจะโค่นเลยไม่บอกกล่าวอีก นางตะเคียนทั้งสองก็ประนมมือขึ้นวันทาหลวงพ่อปานว่า เจ้าข้าแล้วก็หายไป
เมื่อนางตะเคียนหายวับไปแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ออกมานอกกุฏิ สั่งให้เลิกล้มการโค่นต้นตะเคียนเสีย และเรียกต้นตะเคียนทั้งสองว่า “อบเชย” และ “สลัดใด” ต้นตะเคียนทั้งสองจึงยืนนาน ทนแดดทนฝนมาจนทุกวันนี้ ถ้าท่านผู้อ่านมีโอกาสไปแวะวัดบางนมโคแล้ว จะเห็นได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า สัญญาที่นางตะเคียนให้ไว้กับหลวงพ่อปานยืนนานมาได้จนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อมีพายุจัดพัดมา กิ่งตะเคียนทานไม่ไหวก็หักลง แต่ไม่เคยปรากฏว่าจะทำให้หมู่กุฏิได้รับความกระทบกระเทือน ไม่นานมานี้เองมีลมพายุใหญ่พัดมา ทำเอากิ่งตะเคียนใหญ่พอดูหัก แต่เป็นที่น่าแปลกว่า กิ่งตะเคียนแทนที่จะหักทับหมู่กุฏิ กลับลอยไปตกด้านหลังวัดตรงเมรู ซึ่งเป็นระยะทางเกือบสองเส้น เป็นอันว่าแม้หลวงพ่อปานจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม แต่สัญญาที่แม่นางอบเชยและแม่นางสลัดใด ได้ให้กับหลวงพ่อปาน ยังคงเคร่งครัดเหมือนตอนที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ในหนังสืออนุสรณ์ 100 ปี หลวงพ่อปาน พูดถึงเรื่องนางตะเคียนนี้ว่า ในสมัยที่หลวงพ่อปานยังมีชีวิตอยุ่ ถ้ามีใครมาพูดให้ท่านได้ยินว่า ไม่เชื่อว่านางตะเคียนมีจริง หลวงพ่อปานท่านจะว่า ถ้าอยากจะดูนางตะเคียนก็ได้ จะให้จับตัวนางตะเคียนดู แต่ต้องไปกับท่าน ปรากฏว่าท่านได้พาคนอยากทดลองไปดูจนเข็ดขยาดไปตามๆกัน
อีกตอนหนึ่งก็กล่าวว่า ในสมัยก่อนนายเจริญ ทองขจร ปัจจุบันอายุ 70 ปี แต่ก่อนนี้ได้ตั้งแผงลอยขายกาแฟอยู่ใกล้กับต้นตะเคียนคู่นั้น ตอนกลางคืนก็นอนอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ บอกว่าสมัยก่อนนี้ตอนกลางคืนดึกๆ จะมีเสียงผู้หญิงร้องเรียกว่าตาจ๋าๆดังมาจากต้นตะเคียน นายเจริญไม่ใช่คนกลัวผีก็ลุกขึ้นมาดูก็ไม่เห็นมีอะไร นอกจากเงาคนดำๆอยู่ที่ต้นตะเคียน ตั้งแต่ตอนเช้า ตอนออกร้านชงกาแฟ ก็เลยชงกาแฟใส่แก้วไปวางไว้ให้นางตะเคียนเป็นประจำ
จัดตั้งโรงพยาบาลประจำปี พ.ศ. 2464 ทั้งนี้ นับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 หลังจากที่ท่านได้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ และได้ธุดงค์ไปหาอาจารย์ดีๆ และปฏิบัติกรรมฐานจนมีฌานแล้ว จึงได้จัดสถานที่รับรักษาคนไข้ขึ้นเป็นครั้งแรก เล็กๆ น้อยๆ มีคนไข้ไม่มาก เวลาผ่านไปนานเข้า กิตติศัพท์การรักษาพยาบาล การช่วยชีวิตคนป่วยของหลวงพ่อปานแพร่หลายออกไป ทำให้คนไข้ทวีจำนวนขึ้น จนสถานที่คับแคบ ท่านจึงขยายที่รักษาคนป่วย และตั้งโรงทานเพื่อรักษาคนเจ็บโดยไม่คิดมูลค่า
สร้างพรอุโบสถหลังแรกที่ก้าวหน้าในทางการก่อสร้างและความคิด ในปี พ.ศ. 2466 ท่านพิจารณาดูว่า พระวิหารเดิมชำรุดทรุดโทรม เหลือกำลังจะซ่อมแซมได้ หลวงพ่อปานจึงปรึกษากับหลวงปู่คล้าย ในการที่จะสร้างอุโบสถใหม่โดยท่านรับเป็นแม่งาน สละทุนทรัพย์ของท่านเองที่ได้มาจากการขายที่ดินมรดก 16 ไร่ ของโยมมารดา และจากเงินที่ชาวบ้านสมทบเข้า โดยออกแบบการก่อสร้างเป็นสองชั้น กล่าวคือ
ก. ชั้นบน เป็นแบบพระอุโบสถธรรมดาทั่วไป สำหรับประกอบสังฆกรรม บนผนังตั้งแต่เหนือบานประตู และหน้าต่างขึ้นไป ท่านว่าจ้างจิตรกรผู้มีฝีมือมาวาดรูปสวรรค์เป็นรูปของการที่ผู้ที่ได้กระทำการบุญสุนทาน ตั้งแต่เมื่อมีชีวิตอยู่ เมื่อดับจิตไปแล้วก็เสวยสุขอยู่ในสวรรค์ เพื่อแสดงให้เห็นถึง การทำบุญว่า มีผลานิสงส์มากมาย เพื่อให้มนุษย์ทั้งหลายมาทำบุญกัน แล้วจะได้เสวยสุข
ข. ชั้นล่าง หรือชั้นใต้ดิน ท่านให้คุดลึกลงไปจากชั้นบน ทำผนังก่ออิฐถือปูนมั่นคงถาวร สมมุติว่าเป็นนรกภูมิมีบันไดเดินลงไปจากชั้นบน มีรูปปั้นแสดงนรกภูมิที่สุดแสนจะทรมานทั้ง 8 ขุม เป็นภาพปั้นที่มีชีวิตจิตใจ ทำให้คนเห็นแล้วเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าทำบาป เช่นการดื่มน้ำเมา ก็ต้องถูกนายนิรบาลเอาน้ำทองแดงร้อนๆกรอกปาก ไหม้ไส้เป็นจุลมหาจุลแล้วฟื้นมารับโทษอีก บ้างก็เป็นชู้ลูกเมียผู้อื่น ก็ต้องขึ้นต้นงิ้วมีอีกาปากเหล็ก และสุนัขเขี้ยวขาวไล่กัดจนเนื้อขาดวิ่น แล้วก็กลับมามีชีวิตขึ้นมารับการทรมานอีก ตามคำที่พระมาลัยท่านได้ไปเห็นมาจากเมืองนรก แล้วนำมาบอกญาติโยมเมืองมนุษย์ให้ทราบนับว่าเป็นเรื่องน่าศึกษาและทันสมัยเป็นแห่งแรกในสมัยนั้น เวลามีงานประจำปี ต่างคนต่างก็มาชมนรกสวรรค์ของหลวงพ่อปานกันอย่างเนืองนอง
นอกจากนั้น ท่านยังได้สร้างพระประทานประจำพระอุโบสถมีพระนามว่า “พระพุทธโสนันโท” ตามฉายาของหลวงพ่อปานผู้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ และได้จัดให้มีงานนมัสการประจำปีมาจนถึงปัจจุบันนี้
สร้างศาลาการเปรียญประจำวัดบางนมโค พ.ศ. 2470 หลวงพ่อปานท่านได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่าลง แล้วสร้างใหม่ โดยอาศัยเงินของนายชื่น ทรงจำเนียน ที่มีศรัทธาถวาย 5,000 เงินส่วนตัวของหลวงพ่อปานเองบ้าง ท่านสมภารเย็นช่วยบ้าง จนสำเร็จเป็นศาลาสามมุข ชั้นบนเป็นที่ศึกษาปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร ชั้นล่างเป็นที่สำหรับสาธุชนประกอบศาสนกิจ
ที่ไม่เหมือนศาลาการเปรียญของวัดอื่นก็คือ ใต้ถุนศาลาการเปรียญ ท่านได้สร้างเป็นถังน้ำคอนกรีต สำหรับเก็บน้ำฝนไว้ใช้บริโภค จุได้เป็นปริมาณห้าหมื่นปีบ ไวใช้ในยามขาดแคลน ซึ่งนับว่าเป็นศาลาการเปรียญที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกตารางนิ้ว
อันเรื่องถังน้ำ หลวงพ่อปานท่านถือเป็นเรื่องใหญ่และเป็นหัวใจของการก่อสร้างที่ท่านชอบทำ อันจำเห็นได้ว่า ถ้าท่านไปเป็นแม่งานคุมการก่อสร้างที่ใดก็ตาม ท่านมักจะสร้างถังเก็บน้ำฝนไว้ด้วยเสมอ ด้วยเหตุว่าในหน้าแล้ง บางท้องถิ่นขาดแคลนน้ำ ถึงจะมีแหล่งน้ำอยู่ก็ไม่สะอาด เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ถังเก็บน้ำฝนนี้แหละที่จะบันดาลน้ำสะอาดให้ได้ใช้กินกัน
นอกจากนั้น ท่านยังได้สร้างเขื่อน ศาลาท่าน้ำ และถาวรวัตถุในวัดบางนมโคอีกมากมาย จนพูดได้เต็มปากว่า วัดบางนมโคนั้น หลวงพ่อเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยแท้ หลักฐานต่างๆยังคงรอให้ท่านผู้อ่านได้พิสูจน์ที่วัดบางนมโค
การพัฒนานอกวัดบางนมโค หลวงพ่อปานท่านไปสร้างสวรรค์ถาวรวัตถุไว้ในวัดใกล้เคียงวัดบางนมโคและในที่กันดารแห่งอื่นมากมาย
คือ ศาลาการเปรียญวัดบ่อหัก จากการบันทึกของคุณปาน สุขศิริ ว่า
วัดบ่อหักตั้งอยู่ในประตูน้ำเจ้าเจ็ด ตำบลกลางคลอง อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา เจ้าอาวาสวัดบ่อหักชื่อ หลวงพ่อแพ มีความเดือดร้อนที่ว่าศาลาการเปรียญหลังเดิมทรุดโทรมคับแคบในการประกอบศาสนกิจ จึงนำความมาหารือกับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค
ตอนนั้นหลวงพ่อปานไปที่วัดหนองลำเจียก ซึ่งอยู่ในย่านเดียวกันกับวัดของท่าน ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ไม่มีศาลาการเปรียญจะใช้ หลวงพ่อปานท่านคิดว่าจะช่วยเสียทั้งสองวัดเลย เหตุผลของหลวงพ่อปานว่า มันเหมือนกับคนจนไม่มีอะไรกิน คนรวยก็จะกินโน่นกินนี่
หลวงพ่อเริ่มดำเนินการ ไปพูดปราศรัยกับคนที่วัดหนองลำเจียกว่า ทางวัดบ่อหักเขาจะขายศาลาการเปรียญหลังเก่า รื้อมาแล้วมาปลูกให้เสร็จเขาคิดหมื่นบาท ทางทายกทายิกาวัดหนองลำเจียก ก็เห็นว่าจะได้ศาลาการเปรียญมาใช้ก็ตกลง
หลวงพ่อปานท่านก็ให้วัดบ่อหักรื้อศาลาการเปรียญ มาปลูกให้วัดหนองลำเจียก แล้วก็เอาเงินหมื่นจากวัดหนองลำเจียกมาช่วยสร้างศาลาการเปรียญใหม่ให้วัดบ่อหัก
หลวงพ่อปานท่านก็ดำเนินการเป็นแม่แรงในการก่อสร้างให้กับวัดบ่อหักจนสำเร็จ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ ก็เกิดขึ้นในวัดหลวงพ่อปาน เป็นประธานในพิธียกเสาเอกศาลาการเปรียญวัดบ่อหัก
เสาที่จะใช้เป็นเสาเอกของศาลาการเปรียญวัดบ่อหักนั้นเป็นไม้มะค่าโม่งใหญ่โตมีน้ำหนักมาก ก่อนที่จะยกขึ้นตั้งประจำหลุมนั้น ต้องเกณฑ์แรงผู้คนมากมายมาช่วยชักรอกเสาโดยใช้เชือกแขวนรอกที่จะชักเสาขึ้นถึงสี่เส้น แต่ละเส้นก็ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในเวลานั้น ถ้าเชือกเล็กกลัวจะทานน้ำหนักเสาไม่ไหว ขณะที่กำลังช่วยกันชักรอกเสาขึ้นตั้งในหลุมเอก ทำมุมประมาณ 45 องศาเห็นจะได้ เชือกที่จะชักรอกทานน้ำหนักไม่ได้ ก็ขาดกระจุยไปสามเส้น เหลือเพียงเส้นเดียวไม่น่าจะชักรอกเสาไหว หลวงพ่อปานเห็นดังนั้นก็ให้สัญญาณทุกคนหยุดดึงเชือก ให้นำปลายเชือกไปผูกโยงไว้แล้วให้ไปพักผ่อนกันตามสบาย ในขณะที่หยุดพักกันอยู่ ก็มีผู้สังเกตเห็นว่า มีใครคนหนึ่งกำลังไต่ตามเสาเดียะขึ้นไป ไม่รู้ว่ามาจากไหน พอขึ้นถึงปลายแล้วก็หายไป หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านก็เรียกระดมคนมาดึงเชือกรอกที่เหลืออยู่เส้นเดียวนั้น โดยท่านเป็นคนตีฆ้องให้สัญญาณว่า 1 ครั้ง ให้เตรียมตัว 2 ครั้ง ให้ระดมกันชักรอก 3 ครั้งให้ดึงให้ตั้งตรงพอดี ไม่น่าเชื่อว่าทีนี้เชือกเพียงเส้นเดียวจะทานน้ำหนักเสาได้ ในเมื่อเชือกสี่เส้นที่ใช้คราวแรกยังขาดกระจุยถึง 3 เส้น นับเป็นอภินิหารในการก่อสร้างของหลวงพ่อปานอีกครั้งหนึ่ง
หลวงพ่อปานสอนธรรมะ
เรื่องนี้มีบันทึกกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อปานไว้ศพ กล่าวคือ หลวงพ่อปานท่านจะปฏิบัติเป็นประจำในเรื่องการไหว้ศพ เมื่อมีศพมาตั้งที่ศาลาวัดบางนมโค ไม่ว่าจะเป็นศพเด็กหรือศพผู้ใหญ่ท่านจะต้องไปไหว้ศพ ส่วนพระองค์อื่นจะไหว้ตามหรือไม่ท่านไม่ว่า เมื่อศพมาตั้งเข้าที่เรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อปานจะครองผ้าพาดสังฆาฏิ มือถือธูปเทียนมุ่งหน้าไปยังที่ตั้งศพ ท่านจะจุดธูปเทียนประนมมือแล้วกราบสามครั้ง แล้วนั่งปลงนิ่งสักครู่ พอสมควรแล้วท่านก็จะกลับ พระในวัดเมื่อเห็นท่านทำเช่นนั้น ก็พากันเดินตามท่านมากราบศพบ้าง ท่านก็ยิ้มไม่ว่าอะไร
ไม่มีพระรูปใดจะถามท่านว่า ทำเช่นนี้เพื่ออะไร ในที่สุดผู้ที่ถามท่านก็คือท่านมหาวีระนั่นเอง ในเมื่อท่านสงสัยเรื่องศพยายฟู ยายฟูผู้นี้ เมื่อตอนมีชีวิตอยู่ แก่ตัวลงก็มาทำงานในวัดเพื่อเอากุศล เช่น ตัดหญ้า เทกระโถน ล้างกระโถนให้พระในวัด รับใช้หลวงพ่อปาน ตลอดจนเข้าครัวทานทำอาหาร พอตกเย็นก็กลับบ้าน หลวงพ่อปานเรียกยายฟูว่า อีฟู เรียกตัวท่านเองว่าน้า เวลาท่านจะใช้สอย พอยายฟูตายเขาก็เอาศพมาตั้งเสร็จ หลวงพ่อปานท่านก็มาไหว้ศพตามเคย โดยมีพระลูกวัดตามมาไหว้ด้วย หลังจากไหว้เสร็จท่านมหาวีระจึงถามขึ้นในที่นั้นว่า
“หลวงพ่อขอรับ ยายฟูเมื่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อก็เรียกอีฟู แล้วพอยายฟูตายหลวงพ่อมากราบทำไมขอรับ”
หลวงพ่อปานท่านหันมายิ้มอย่างอารมณ์ดี แล้วหันไปดูพระองค์อื่นทำนองถามว่า รู้คำตอบบ้างไหม บางองค์ก็บวชมานานถึง 10 หรือ 20 พรรษา รู้กันบ้างไหม แล้วเอ่ยตอบด้วยน้ำเสียงอันราบเรียบว่า
“การที่ท่านมาไหว้ศพนั้น ท่านแบ่งการไหว้ออกเป็นสามระยะ คือ
กราบครั้งที่ 1 ท่านไหว้พระสัจธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ที่ทรงกล่าวไว้ว่า ร่างกายของคนและสัตว์ในโลกนี้ มันเป็นอนิจจังมีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ ถึงเวลาก็ต้องตายเป็นที่สุด เป็นอนัตตา ใครบังคับบัญชาไม่ได้ ที่มาไหว้นี้ไหว้สัจธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงสั่งสอนไว้ตรง ข้าพระพุทธเจ้ายอมรับนับถือ จะได้นำคำสอนของพระองค์นี้ไว้เป็นสิ่งเตือนสติ จะได้ไม่ประมาท ตกอยู่ในธรรมชั้นสูง เป็นมรณานุสสติกรรมฐานต่อไป
กราบครั้งที่ 2 ให้นึกว่าคำสอนของสมเด็จพระชินสีห์เต็มไปด้วยความจริง เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ทำให้บุคคลทั้งหลายไม่มัวเมา ให้เข้าถึงความสุข เมื่อพิจารณาก็ยิ่งเห็นข้อเท็จจริงตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
กราบครั้งที่ 3 ให้ระลึกถึงหมู่พระอริยสงฆ์ ที่ท่านได้มีมานะพยายามร้อยกรองพระธรรมวินัย ที่สมเด็จพระบรมครูทรงตรัสประทานไว้ให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปล่อยให้ศูนย์หายไป และพร้อมกันสืบต่อพระพุทธศาสนา จนกระทั่งยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อเรามากราบศพนั้น เราไม่ได้มากราบผีกราบศพ เรากราบพระทั้งสามองค์ดังกล่าวมาแล้ว โดยยกเอาศพคนตายขึ้นมาเป็นครูว่า เขาเกิดมาเป็นเบื้องต้น แล้วเขาก็ตายเบื้องปลาย สมจริงแล้วดังคำพระศาสดา น้อมเอาศพคนตายมาเป็นอารมณ์ในจิตใจ ทำมรณานุสสติกรรมฐานที่เราจะได้ยึดถือปฏิบัติต่อไป
จงจำไว้ว่า การมากราบศพนั้น เราไม่ได้มากราบผีกราบศพ เรากราบคุณพระศรีรัตนตรัย กราบคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา
การไปเผาศพก็เหมือนกัน อย่าตั้งหน้าเผาเขาอย่างเดียว จงเผากิเลสของเราด้วย กิเลสที่มันสิงใจเราอยู่ว่า เราไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เผามันเสียให้หมด จงคิดอยู่เสมอว่า เรามาเผาเขาวันนี้ วันหน้าเขาก็มาเผาเราบ้าง เกิดมาทำไม ต่อไปข้างหน้ามันก็ตาย อย่าเกิดดีกว่า เราไปพระนิพานนั่นแหละดีที่สุด ไหนๆก็เสียเวลาไปเผาศพแล้ว ก็เอากำไรกลับมาให้มากที่สุด
หลวงพ่อปานมีวาจาสิทธิ์
ในเรื่องนี้ มีหลักฐานจากการบันทึกของท่านพระมหาวีระ ถาวโร ในเรื่องล้างชามแบบพิเศษ อันเกี่ยวโยงกับวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อปาน
ในปีหนึ่งทางวัดมีงานประจำปี ที่โรงทานชองหลวงพ่อปานมีคนมากินกันมาก จนล้างชามไม่ทัน แต่ละคนก็แบ่งงานกันเต็มมือ
ตาเผือแกถึงเวรต้องล้างชาม ปรากฏว่าล้างชามไม่ทันก็วิ่งขึ้นไปหาหลวงพ่อ เรียนให้ทราบว่าล้างชามไม่ทัน ขอให้จัดคนไปช่วย หลวงพ่อปานก็บอกว่าจะไปเกณฑ์ใครเขาได้แต่ละคนก็งานล้นมือ ท่านว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ตาเผือกเอาชามที่จะล้างใส่ตะกร้า แล้วเอาไปเขย่าในน้ำล้างซีจะได้เร็วเข้า ตาเผือกก็แน่เหมือนกัน ได้รับคำสั่งแล้วก็คว้าชามไปใส่ในเข่งทีละหลายสิบใบพอที่จะยกไปได้ ยกหน้าตาเฉยไปที่ท่าน้ำ ไปถึงก็จุ่มตะกร้าที่ใส่ชามลงไปในน้ำแล้วเขย่าอย่างไม่ปรานีปราศรัย เสียงชามกระทบกันกร่องแกร่ง พอกะว่าสะอาดแล้วก็ยกขึ้น ชามไม่มีแตกเลย แกทำอยู่หลายเที่ยวอย่างนี้ก็ไม่แตก
เมื่อดำเนินเรื่องมาถึงตอนนี้แล้ว ก็ขอแทรกเรื่องครัวทานของหลวงพ่อปานเสียเลย ครัวทานของท่านเกิดจาการที่ท่านเปิดรักษาคนไข้ ตอนแรกก็มีคนน้อย แต่ต่อมาคนเล่าลือกันเข้าก็พากันมามากมาย
การคมนาคมสมัยก่อนมีทางเรืออย่างเดียว พวกคนไข้ก็พากันลงเรือมาหาหลวงพ่อ บางคนก็มารักษาแล้วก็กลับไปเลย บางคนก็ต้องอยู่รักษาต่อ บางคนเดินทางมาไกลมาเยี่ยมท่าน มาขอของดี มาปรึกษางานแล้วก็กลับไม่ทัน ทำให้ลำบากในเรื่องอาหารการกิน หลวงพ่อปานท่านจึงสร้างครัวทานขึ้นในวัดบางนมโค สำหรับเลี้ยงคนไข้ และแขกที่มาหาพักค้างอ้างแรม ตอนแรกท่านก็สละทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่าน ต่อมาคนรู้ข่าวว่าท่านสร้างโรงครัวก็พากันมาทำบุญ บ้างก็ช่วยข้าวสาร บ้างช่วยข้าวเปลือก เกลือ มะพร้าว พวกที่มีศรัทธาทวีจำนวนขึ้นจนรับไม่หวาดไม่ไหว
อีกทั้งคนไข้ที่เคยได้รับการรักษาจากหลวงพ่อไป ก็คิดถึงบุญคุณ บางคนอยู่ท้องถิ่นชายทะเล บางคนก็อยู่กรุงเทพฯ ก็พากันหาสิ่งของที่พอหาได้ เช่น ปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาหมึกแห้ง มาบริจาคเข้าครัวทานของหลวงพ่อปานกันเต็มที่ จึงเป็นอันว่าคนไข้ และผู้ที่ไปนมัสการหลวงพ่อ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ก็จะมีอาหารจัดเลี้ยงเป็นประจำ แม้แต่เวลาวัดมีงานก็จะมีอาหารผู้ที่มาเที่ยวงานฟรีอีกด้วย
หลวงพ่อปานรักษาโรค
ในเรื่องการรักษาโรค ช่วยชีวิตคนของหลวงพ่อปานนี้ เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น ผู้คนต่างแห่แหนกันมาจนกระทั่งวัดแน่น จนไม่มีที่รับ ดังจะยกมากล่าวโดยละเอียดในตอนนี้
1. รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ โรคที่ท่านรักษาด้วยน้ำมนต์นี้เรียกว่าโรคภายใน เช่น บางคนถูกของ ถูกคุณ ถูกเขากระทำมา โรคที่เกิดจากกรรมเวร ถูกผีสิง เป็นต้น บางครั้งก็ใช้แป้งเสกควบคู่ด้วย
ในตอนเพลขณะที่ท่านพักผ่อน ท่านจะทำการเสกน้ำมนต์เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อเวลาอาบจะได้สะดวก และท่านจะได้ใช้เวลาในการอาบน้ำบริกรรมเสกเป่าเฉพารายอีกด้วย
น้ำมนต์ของท่านนี้ ศักดิ์สิทธิ์นัก ดังเรื่องราวต่อไปนี้
กรรมวิธีในการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ ของหลวงพ่อปาน แบ่งออกเป็นระยะดังนี้
ระยะหนึ่ง ท่านเรียกคนไข้มาหา แล้วถามชื่อเสียงเรียงนาม ถามอาการว่าเป็นอย่างไร แล้วยื่นหมากเสกให้กินคำหนึ่ง คาถาที่ท่านใช้เสกหมากนี้ ที่ท่านบอกผู้ใกล้ชิดว่าใช้ดังนี้ จะขลังหรือไม่อยู่ที่จิตของผู้ทำ
“ตั้งนะโมสามจบ แล้วว่า โสทายะ นะโมพุทธายะ ลัมอิทังโล นันโทเสติ ยาทาโลเทตีติ”
เมื่อคนไข้รับหมากเสกแล้ว ให้เคี้ยวให้แหลก บ้วนน้ำหมากทิ้งเสียสามทีกลืนลงคอไป ให้คนไข้สังเกตดูว่าหมากนั้นมีรสอะไร แล้วบอกหลวงพ่อปาน จากนั้นท่านก็จะทำการรักษาตามกรรมวิธีของท่าน
หลวงพ่อปานท่านบอกว่า รสหมากนั้นจะบอกโรคดังนี้
ก. รสเปรี้ยว แสดงว่าต้องเสนียดที่อยู่อาศัยเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ มีของต้องห้ามอยู่กับบ้าน เช่น มีไม้ไผ่ผูกสวน ต้นสวนปลายอยู่ในบ้าน มีตออยู่ใต้ถุนบ้าน ที่เรียกว่าปลูกเรือนคร่อมตอ หรืออย่างอื่น ต้องจัดการเรื่องนี้เสียก่อนแล้วจึงรักษาหาย ส่วนมากแล้วหลวงพ่อปานจะใช้ฌานดู แล้วบอกว่ามีอย่างไรบ้างให้แก้เสียก่อน
ข. รสหวาน แสดงว่าต้องแรงสินบนอย่างใดอย่างหนึ่ง คนไข้หรือคนในบ้านบนไว้ต้องนึกให้ออก ว่าตนเคยบนบานศาลกล่าวอะไรบ้าง ถ้านึกได้ผู้ป่วยไข้ต้องเอาดอกไม่ธูปเทียนไปจัดบูชากลางแจ้ง ขอทำการแก้ให้ถูกต้องในภายหน้าต่อไป เมื่อกลับมาหาท่าน ท่านจะรดน้ำมนต์ให้ รดแล้วจะต้องให้กินหมากเสกอีก ว่าหมดสิ้นหรือยัง ถ้าไม่มีรสหวานก็หมดแล้ว ถ้ายังหวานอยู่ก็ต้องนึกดู ต้องแก้บนอีกแล้วจึงจะรักษาหาย
ค. รสขม แสดงว่าต้องคุณคน คือ ถูกของที่มีผู้ใช้เดียรัจฉานวิชาทำมาไว้ในตัว เช่น ในท้องมีตะปูที่ป่าช้าเผาศพบ้าง มีเข็มเย็บผ้าบ้าง ไม้กลัดผูกกากะบาดบ้าง ได้ตราสังข์มัดศพบ้าง เปลวหมูบ้าง หนังสัตว์บ้าง เช่น ของเหล่านี้จะทำให้คนไข้เจ็บปวด เสียดแทงในร่างกาย เป็นที่ทรมานนัก คนไข้ประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหญิง ที่เป็นชายมีน้อย โดยมากพวกนี้มักจะรับจ้างทำลายผู้อื่น หรือไม่ก็ปล่อยไปตามยถากรรมถูกใครก็เจ็บไป ทำร้ายใครไม่ได้ก็กลับมาเข้าตัวเอง เคยมีแขกผู้หนึ่งถูกของตัวเอง หลวงพ่อปานท่านแก้ให้ แล้วขอสัญญาให้เลิกอาชีพนี้เสีย
คนไข้ประเภทนี้หลวงพ่อท่านจะเสกน้ำมนต์พิเศษ ใส่กระป๋องน้ำเพื่อให้คนไข้แช่เท้าทั้งสองข้างไว้ เมื่อเวลารดน้ำมนต์ของที่อยู่ในตัวจะหลุดออกมาทางเท้า อยู่ในกระป๋องน้ำมนต์

ง. มีอาการยันหมาก มึนงงศีรษะ เวียนศีรษะ อย่างนี้หลวงพ่อท่านว่าถูกคุณผี คือ มีอาการใช้ผีมาเข้าสิงคนไข้นั้นจะสำแดงอาการกิริยาผิดปกติ ถ้าผียังสิงอยู่จะไม่ยอมกินหมากเสก หลวงพ่อต้องใช้อำนาจจิตบังคับให้กิน ถ้าผีแกล้งออกไป ชั่วระยะคนไข้จะยอมกินหมาก แล้วมีอาการยันหมาก ผีประเภทนี้ เป็นผีตายโหงที่ผู้มีวิชานำวิญญาณมาใช้ทำอันตรายคน ทำให้เสียสติ เพ้อคลั่ง เสียคน เป็นต้น
คนไข้ประเภทนี้ หลวงพ่อปานท่านจะทำน้ำมนต์พิเศษ จากพระดินเผาของท่านเอง ซึ่งท่านมักจะใส่ในกระเป๋าอังสะของท่านอยู่เสมอ เพื่อทำน้ำมนต์ให้คนไข้อาบ และใช้มีดหมอของท่านกดกลางศีรษะ และรดน้ำมนต์คนไข้นั้นเรื่อยไป จนกว่าผีจะออก ถ้าดินรนก็ต้องมีคนช่วยจับ และรดน้ำมนต์ในระหว่างที่ท่านกดมีดหมอและบริกรรมอยู่
คนไข้ประเภทนี้ เมื่อหายแล้วจะจำอะไรไม่ได้เลย และท่านมักจะให้สายสิญจน์มงคลไว้คล้องคอ กันถูกกระทำซ้ำอีกทุกราย
จ. มีอาการร้อนหูร้อนหน้า แสดงว่าร้ายแรงมาก ถึงขนาดที่ถูกน้ำมันผีพราย ประเภทนี้จะมีอาการป้ำๆ เป๋อๆ คุ้มดีคุ้มร้าย ชาวบ้านเรียกว่าลมเพลมพัด ขาดสติปวดศีรษะบ่อยๆ คนไข้ชนิดนี้ท่านจะให้แช่เท้า ในกระป๋องด้วยเหมือนกับที่ถูกคุณคน เมื่อเวลารดน้ำมนต์นั้น น้ำมันพรายจะซึมออกมาเป็นฝาน้ำมันลอยอยู่ในน้ำให้เห็น หลวงพ่อบอกว่าคนประเภทนี้หายยาก เพราะว่าน้ำมันซึมอยู่ในร่างกาย ต้องมารักษาบ่อยๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ จนกว่าจะหมดน้ำมันพราย และท่านมักจะสั่งห้ามกินน้ำมันสัตว์ เพราะจะไปเพิ่มน้ำมันให้กับน้ำมันพราย
หมากเสกของท่านนี้ ถ้ากินแล้วร้อนลึกเข้าไปในทรวงอก ท่านว่าเป็นผีในท้อง (วัณโรค) ประเภทนี้นอกจากจะรดน้ำมนต์แล้ว ยังจะต้องกินยาคุณพระควบไปด้วยอีกทางหนึ่ง เป็นการถ่ายขับพิษร้ายออกจากร่างกาย
ปรากฏการณ์ในการรดน้ำมนต์ของหลวงพ่อปาน บันทึกของนายกิม อร่ามทิพย์ ซึ่งเป็นศิษย์วัดบางนมโค อยู่และได้เห็นหลวงพ่อปานรักษาคนไข้รายหนึ่ง เมื่อราว พ.ศ. 2465 หรือ 2466 มีสามีภรรยาคู่หนึ่งมาหาหลวงพ่อปาน สามีจำชื่อไม่ได้ ภรรยาชื่อนางมิ่ง มีอาการท้องโตคล้ายตั้งครรภ์ แต่ไม่มีครรภ์ หลวงพ่อปานให้กินหมากเสก คนไข้บอกว่าขม หลวงพ่อท่านรู้ทันทีจึงทำน้ำมนต์จากพระของท่านให้คนไข้กินเข้าไป แล้วสั่งให้หยิบเขียงไม้สักกับมีดหมอมาวางที่เหนือศีรษะคนไข้ ท่านบริกรรมพระเวทย์แล้วสับที่เขียง 10 กว่าครั้ง แล้งสั่งให้ผู้เป็นสมีตำแป้งข้าวจ้าวมาพอกให้ทั่วหน้าท้อง ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จึงสั่งให้แกะออก พบเหล็กลานตะเกียงลานหนึ่งชิ้น ท่านสั่งให้ปิดแป้งอีก 10 กว่าครั้ง ก็ได้ลานตะเกียงทุกครั้ง จนกระทั่งเปิดแล้วไม่มีเหล็กตะเกียงลานก็ให้หยุด ท้องที่บวมโตก็ยุบลง หลวงพ่อปานก็ให้กินยาต้มและรักษาจนปกติ
บันทึกของท่านมหาวีระ ถาวโร วันหนึ่งมีผู้นำเด็กสาวอายุ 15-16 ปี มาหา การมาหาในลักษณะของคนไข้หนักไม่รู้สึกตัว ต้องใส่แคร่หามมา พอหามมาถึงหน้าหลวงพ่อปาน ท่านบอกว่าถูกเขากระทำมาแล้วนี่ ท่านบอกว่าไม่เป็นไร ถูกใหม่ๆ มาหาเดี๋ยวนี้ก็กลับบ้านได้ ว่าแล้วท่านก็สั่งให้มหาวีระมารดน้ำมนต์ที่เสกไว้แล้วแทนท่าน พอถูกน้ำมนต์คนไข้ก็รู้สึกตัว ในตอนนั้นหลวงพ่อปานท่านนิ่งภาวนากำกับด้วย เมื่อรู้สึกตัวก็ด้นครวญครางอย่างหนัก ฉีกเสื้อผ้าที่สวมอยู่ขาดวิ่นหมด มหาวีระบอกว่ารดได้ประมาณห้าปีบ เด็กสาวก็หยุดดิ้น โงหัวขึ้นมามีเสียงดังเปรื่อง เมื่อมีมีดอีโต้เล่มใหญ่ผูกด้ายสายสิญจน์เป็นสามเปราะคล้ายมัดศพ หล่นออกมาจากหน้าอก พอมีดหล่นออกมาก็รู้สึกตัวทันทีรีบคว้าผ้าขาวม้ามาปิดหน้าอก คนที่อยู่ใกล้ก็เอามีดมาให้หลวงพ่อปานดู หลวงพ่อปานท่านก็บอกว่าเห็นไหม เขาเสกอีโต้เข้าอกแล้ว ท่านได้ให้สายสิญจน์มงคลไปคล้องคอ พร้อมด้วยยันต์เฑาะว์ พร้อมกับกำชับว่าอย่าถอดออกนะ เขาจ้องจะทำอีกจะได้รู้ตัว ต่อมาปรากฏว่าสาวผู้นั้นยังไม่หมดเคราะห์ ถอดมงคลออกก็ต้องหามมาให้หลวงพ่อรักษาอีกหลายครั้ง มีตะปู 4 นิ้วบ้าง เลื่อยเหล็กบ้าง จนในที่สุดก็หมดเคราะห์ ไม่ยอมถอดมงคลออกจากตัว จึงรอดตาย
จาการบันทึกของนายเจริญ ทรงพร ว่า ตอนนั้นยังเป็นเด็กวัดอยู่ ได้ดูหลวงพ่อปานรักษาคนไข้ด้วยน้ำมนต์ โดยให้เท้าแช่ในกระป๋องด้วย นายเจริญเล่าว่า ตอนนั้นเข้าไปดูใกล้ๆ เห็นที่หัวเข่าของคนไข้มีเข็มเย็บผ้าค่อยๆโผล่ออกมาจากเนื้อ จึงคิดสงสารจะเอามือช่วยดึงออก หลวงพ่อปานท่านก็บอกว่าอย่าเอามือดึง ถ้าจะช่วย ให้วักน้ำมนต์ช่วยหยอดที่เข็ม จะได้หลุดออกมาเร็วๆ ก็ทำตามจนเข็มหลุดออกมาหมด
หลังจากนั้นหลวงพ่อปานได้เล่าให้นายเจริญฟังว่า มีคนไข้ปวดท้องมากรายหนึ่ง ไปหาหมอแผนปัจจุบันที่โรงพยาบาลปัจจุบัน เอ็กซเรย์ปรากฏว่าพบเข็มเย็บผ้ากลุ่มหนึ่งอยู่ในกระเพาะอาหาร จึงลงมือผ่าตัดเอาเข็มออก ปรากฏคนไข้ตายสนิท ท่านบอกว่าของเหล่านี้เป็นดิรัจฉานวิชาเขาทำมา จะมาใช้วิธีอื่นนอกจากคุณพระแล้วคนไข้จะตาย
จาการบันทึกของนายผล แก้วรักษา ว่า ตนเองตอนนั้นอายุได้ 22 ปี กำลังรับราชการทหารอยู่ดีๆ ก็เกิดป่วยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน เดินไม่ได้ พวกญาติพากันไปหาหลวงพ่อปาน มาพักรักษาอยู่ที่วัด หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ ทำน้ำมนต์ให้แช่เท้า แล้วกินยาคุณพระ อาการที่เป็นอยู่ก็หายเป็นปกติ หลวงพ่อปานบอกว่าถูกเขากระทำมา ทำอยู่สองอาทิตย์ก็หายแต่ไม่แน่ใจ เลยพักอยู่ช่วยงานที่วัดอยู่เดือนหนึ่ง หายแล้วก็ไม่เป็นอีก
จากบันทึกของนายศิริ งามพินิจ ตอนเด็กๆอายุประมาณ 12 ขวบ ไปกับพ่อที่วัดบางนมโค ได้เห็นตอนหนึ่งของการรักษาโรคด้วยน้ำมนต์ของหลวงพ่อปานว่า วันหนึ่งได้ดูหลวงพ่อปานรดน้ำมนต์คนไข้รายหนึ่ง แล้วม่านก็นั่งอยู่ในที่ของท่าน มีมีดหมอและหวายไล่ผี สักครู่คนไข้ก็มีอาการอ้าปาก มีเขียดกระโดดออกจากปาก บางทีคนไข้ ก็เอามือมาตะปบที่พุงคว้าตุ๊กแกออกมาโยน ผู้เขียนบันทึกบอกว่า ตามประสาเด็กเห็นเป็นของสนุก ก็ไล่จับเขียดบ้าง ตุ๊กแกเล่นบ้าง หลวงพ่อปานท่านร้องดุให้หยุด
หลวงพ่อปานท่านเอามีดหมอสับกับเขียงไม้ สักครู่หนึ่งสัตว์เหล่านั้นกระโดดช้าลงแล้วกลายเป็นขี้เถ้าขี้ผงอยู่ตรงนั้นเอง
2. รักษาโรคด้วยยาพระพุทธคุณ นอกจากน้ำมนต์แล้ว ท่านยังมียาพระพุทธคุณให้กินอีกด้วย ยานี้มีสรรพคุณแก้โรคได้ทุกชนิด แล้วแต่ชนิดของโรค คือยา เป็นยาอธิษฐานของหลวงพ่อปาน นอกจากรักษาโรคแล้วยังเป็นยาที่หลวงพ่อปานให้กินเวลาที่ท่านรดน้ำมนต์แก้ถูกกระทำไปแล้ว ยาของท่านๆบอกกับคนใกล้ชิดว่า ตำหรับนี้เป็นของหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ องค์อุปัชฌาย์ของท่านมอบให้ ท่านเป็นทายาทแทน เมื่อหลวงพ่อสุ่นล่วงลับไปแล้ว
3. น้ำมันสังคะโลก ใช้ทาแก้โรคภายนอก เช่น ที่ขัดเคล็ดยอก และกระดูกหัก เรียกว่ามหาประสาน ท่านทำโดยใช้มะพร้าวคั้นเป็นหัวกระทิ และตำงาให้ป่น ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน โขลกรวมกันแล้วทำพิธีหุงกลางแจ้ง เวลาหุงท่านจะทำด้วยตัวของท่านเอง และเสกคาถากำกับด้วย จนกลายเป็นน้ำมันใสที่มีกลิ่นหอม แล้วเก็บไว้
เวลามีคนไข้มาขอรับการรักษา ท่านจะเอาน้ำมันสังคะโลกมาให้ทา เมื่อมีอาการเคล็ดขัดยอก ช้ำ บวม
ถ้าเป็นรายที่กระดูกแตก ท่านจะเสกเป่ากำกับด้วยคาถามหาประสานของครูผึ้งกำกับไปอีกชั้นหนึ่ง จนหายทุกราย รายที่ยืนยันได้ก็คือ รายของนายเลื่อม แถลงกิจ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อ และเป็นช่างไม้ที่หลวงพ่อไว้ใจในการก่อสร้าง
เรื่องมีอยู่ว่า ตอนนั้นหลวงพ่อปานท่านไปสร้างศาลาการเปรียญให้วัดลาดชืด อ. ผักไห่ จ. พระนครศรีอยุธยา การสร้างดำเนินมาถึงการยกเครื่องบนของศาลาการเปรียญ นายเลื่อมผู้นี้ชำนาญในด้านช่างไม้ และขึ้นที่สูงได้อีกด้วย ขนาดที่ว่าสูง เช่นหลังคาโบสถ์ โดยไม่ต้องยึดเกาะอะไรด้วย
วันนั้น ผู้บันทึกจำได้ว่า เป็นวันยกเครื่องบนศาลาการเปรียญ หลวงพ่อได้ไปเป็นประธาน ก่อนทำพิธียกเครื่องบน หลวงพ่อได้จัดศาลเพียงตาสี่ทิศพร้อมด้วยเครื่องสังเวยเทวดา เสร็จพิธีหลวงพ่อปานท่านก็ให้สัญญาณ ให้เริ่มยกเครื่องบนไปทีละชิ้น โดยใช้รอกเหล็กค่อยๆยกขึ้นไปโดยอาศัยแรงชาวบ้าน มีช่างไม้ขึ้นไปรับอยู่ข้างบน ทันใดนั้น เหตุการณไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น ท่ามกลางสายตาคนที่มาช่วยงาน
ขณะที่ชาวบ้านกำลังชักรอกจันทันตัวใหญ่ ขึ้นสู่ใบตั้ง คงจะเป็นกรรมเก่าของนายเลื่อม ซึ่งกำลังรอรับเครื่องบนอย่างตั้งใจ รอกเหล็กตัวใหญ่ที่อยู่เหนือศีรษะของนายเลื่อมทานน้ำหนักของจันทันไม่ไหว ขาดหล่นลงมากระแทกท้ายทอยนายเลื่อมเต็มที่ นายเลื่อมล้มลงชักดิ้นชักงอ อยู่บนแผ่นกระดานที่ปูเป็นชานนั่งอยู่พอดี
จังหวะนั้น นายเชื้อ สัญญสาร ช่างชาวบางนมโค ซึ่งอยู่ใกล้กับนายเลื่อมก็ช่วยจับตัวนายเลื่อมไว้ แต่สุดที่จะจับไว้ได้ เพราะนายเลื่อมชักกระตุกรุนแรง หนสุดท้ายร่างของนายเลื่อมก็ลอยละล่องลงมาฟาดกับคานล่าง ซึ่งเป็นคอนกรีตอย่างจัง คราวนี้นายเลื่อมเงียบสงบ นอนหายใจระรวยบ่งบอกอาการว่ากระดูกคงแหลกลาญแน่นอน
หลวงพ่อปานเห็นดังนั้น จึงให้คนช่วยหามนายเลื่อมให้ลงนอนในกระดานแผ่นเดียว ยกลงเรือแล้วลากด้วยเรือยนต์ มุ่งหน้าไปวัดบางนมโคในทันที พอถึงวัดหลวงพ่อปานท่านก็ให้หามขึ้นไปบนศาลา แล้วท่านก็นำน้ำมันสังคะโลกของท่านออกมาทาทั่วตัวของนายเลื่อม แล้วเป่าด้วยคาถามหาประสานอย่างใกล้ชิด จนทั่วตัวของนายเลื่อม พอเสร็จพิธี นายเลื่อมก็เริ่มลืมตาขึ้น รู้สึกตัวและขยับตัวได้ มีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ เมื่อรับการรักษาจากหลวงพ่อปานเพียง 7 วัด ก็หายเป็นปกติ จนกระทั่งกลับบ้านได้ มิมีร่องรอยว่าจะมีกระดูกหรืออวัยวะส่วนใดของนายเลื่อมจะบุบสลาย เมื่อกลับบ้านได้แล้วก็ทำงานหนักและทำไร่ไถนาได้ตามปกติ
คาถามหาประสานนี้ ต่อมาหลวงพ่อปานได้บอกให้คนใกล้ชิด และพิมพ์แจกอีกทางหนึ่งด้วย จะขอคัดมาเสนอต่อสายตาท่านในอันดับต่อไปนี้
วะโรวะรัญยู วาระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ เมื่อจะทำการประสาน ให้เอาใบตองปิดบนแผลเสียก่อน กลั้นใจว่าคาถาเสีย 3 เที่ยว หรือ 8 เที่ยว สวดสาธยายทุกวันกันกลืนตัวได้อีกด้วย
น้ำมนต์และกล้วยน้ำว้าเสกคลอดบุตรง่าย
ในสมัยนั้น ผู้ที่มีครรภ์แก่ใกล้กำหนดคลอด ก็จะให้คนพามาหาหลวงพ่อเพื่อขอน้ำมนต์และกล้วยเสกไปจะปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก
วิชานี้ ได้ยินมาว่าตกอยู่กับหลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์ท่าเตียน ซึ่งได้ช่วยเหลือผู้ที่จะคลอดบุตรด้วยน้ำมนต์และกล้วยเสกดั่งที่หลวงพ่อปานได้เคยกระทำมา
วิชาดูเนื้อคู่
วิชานี้หลวงพ่อปานท่านมิได้บอกแก่ผู้ใดว่า ไปเรียนมาจากไหน และไม่ค่อยแสดงให้ใครดู เพราะท่านกลัวว่าจะผิดวินัยว่าได้ดูหมอหรือดูเนื้อคู่ให้กับผู้อื่น ท่านจะทำเฉพาะที่หลวงพ่อเห็นว่าสมควรจะชี้ให้เท่านั้น เรียกว่าวิชาดูเนื้อคู่นั่นเอง
วิชานี้ ผู้ที่ได้รับการแสดงให้ดูที่ยืนยันได้สองราย แต่ต่างวาระกัน ทั้งสองรายนี้เป็นผู้ที่บวชในวัดบางนมโค และตอนก่อนจะสึกนั้น หลวงพ่อปานท่านได้ถามว่า อยากดูเนื้อคู่ไหม ถ้าอยากดูไปเอาบาตรมา เอาดอกบัวมาสามดอก ดินเหนียวก้อนย่อมก้อนหนึ่ง เมื่อได้สิ่งของมาครบแล้ว
ท่านจะเอาก้อนดินเหนียวใส่ลงไปในบาตรเป็นปฐม แล้วเอาดอกบัวสามดอกนั้นมาปักลงบนดินเหนียว แล้วเอาน้ำเทลงในบาตร ท่านจะหลับตาภาวนาอยู่สักครู่ แล้วเรียกมาดูน้ำมนต์ในบาตร เมื่อชะโงกดูแล้วจะเห็นหน้าเนื้อคู่ของตนเป็นเงาๆ ที่ชัดพอสมควร แล้วท่านจะบอกว่าให้สังเกตตำหนิไว้นะ จำให้แม่น นั่นแหละเนื้อคู่ของคุณละ
รายที่ถือเป็นหลักฐานได้ก็คือ รายของนายเปลี่ยน สัยยนิฐี ไวยาวัจจกรวัดบางนมโค ในปัจจุบันนี้ บอกว่าเมื่อชะโงกดูแล้วจำลักษณะได้ว่า ที่หน้ามีแผลเป็น ครั้นสึกออกมาแล้วก็พบว่าเนื้อคู่ของตน มีใบหน้าเหมือนที่เห็นในบาตรน้ำมนต์ และมีแผลเป็นที่หน้าอีกด้วย
ขอแทรกวิชาเสกใบไม้ให้เป็นสัตว์ต่างๆ ที่หลวงพ่อปานได้บอกไว้ว่า ได้ไปเรียนอยู่กับอาจารย์ตอนที่ไปธุดงค์เมื่อกลับมาถึงวัดแล้วก็ทดลองดู ท่านบอกว่าท่านเอาใบไม้มาเขียนเป็นรูปแร้งแล้วเอามาใส่ในอุ้งมือ ภาวนาคาถาจนกระทั้งใบไม้นั้นดิ้นขลุกขลักๆอยู่ไปมา ท่านบอกว่าเกิดใจวูบ คิดไปว่าถ้าเสกออกดมาแล้วตัวโตใหญ่ บังคับไม่ได้จะทำอันตรายผู้คน จึงหยุดภาวนาปล่อยมือออกจากกัน ท่านบอกว่า มีลูกนกตัวแดงๆ ยังไม่มีขนหล่นลงมาดิ้นอยู่ที่ดิน กระดอกกระแดกอยู่ไม่นานก็กลับเป็นใบไม้อย่างเดิม เมื่อท่านได้ธุดงค์ไปแวะหาพระอาจารย์ที่ได้สอนท่านมา ท่านก็เล่าให้ฟัง พระอาจารย์ของท่านได้บอกว่า จะเป็นอันตรายได้อย่างไรเล่า เพราะว่าเราไม่ได้สั่งให้ไปทำร้ายใคร นานไปมนต์เสื่อมเข้า ก็กลายเป็นใบไม้อย่างเดิม ชาตินี้ท่านไม่มีหวังทำได้อีกแล้ว เพราะว่าท่านทำเสียพิธีแล้ว
การรักษาโรคด้วยยันต์เฑาะว์พุทธะ














ไม่มีความคิดเห็น: